ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการปรึกษาเรื่องยา ศึกษา เฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการปรึกษาเรื่องยา ศึกษา เฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อุไรศรี ศุภดิลกลักษณ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
สาขา : สื่อสารมวลชน
ปี : 2536
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่องความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการ ปรึกษาเรื่องยา ศึกษาเฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา ตลอดจนศึกษาถึง ความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้ป่วยนอกมีต่อความ น่าเชื่อถือของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัจจัยในตัว เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาและผู้ป่วยที่แตกต่างกัน การศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำ การวัดเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้ป่วยมาใช้บริการจาก ร.พ.ราชบุรี และได้รับคัดเลือกให้เข้ารับบริการปรึกษา เรื่องยา เฉพาะในวันและเวลาราชการ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามและสัมภาษณ์ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ Random Sampling ในผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และสามารถใช้ยา ได้ด้วยตนเอง จำนวน 168 ราย โดยให้ผู้ป่วย 24 รายรับ คำปรึกษาจากเภสัชกรแต่ละคน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 7 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ แสดงผลออกมาเป็นค่าร้อยละ ผลของ การทดสอบแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจำแนกทางเดียว (Analysis of Variance : F-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis : ) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ อายุราชการ ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา และการสวมเครื่องแบบของ เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษารวมทั้ง เพศ อายุ สถานภาพสมรสอาชีพ การเป็นสมาชิกสังกัดกลุ่มต่าง ๆ และภูมิลำเนาของผู้ป่วย ไม่ได้ทำให้ความน่าเชื่อถือที่มีต่อเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาและรายได้ของผู้ป่วย ทำให้ ความคิดเห็นของผู้ป่วย ที่มีต่อความน่าเชื่อถือของเภสัชกร ผู้ให้คำปรึกษาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.001 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า ความน่าเชื่อถือ โดยรวมของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ คือมากกว่า 80% ขึ้นไป ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อีกด้วย ข้อเสนอแนะด้านระเบียบวิธีวิจัย ควรทำการศึกษาใน โรงพยาบาลอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันเปรียบเทียบดูผลที่ได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ใช้ได้ทั่วไป ควรใช้กลุ่มตัวอย่าง ใหญ่ขึ้น และควรใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วย เพื่อวิเคราะห์คำพูดเนื้อหาของข่าวสารที่เภสัชกรผู้ให้ คำปรึกษาใช้สื่อสารกับผู้ป่วย สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกิด จากผู้ป่วยควรศึกษาจากเภสัชกรที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เพียงท่านเดียว ส่วนข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา เภสัชกรผู้ให้ คำปรึกษาพึงตระหนักถึง และส่งเสริมให้มีการสื่อสารสองทาง กับผู้ป่วยให้มากขึ้น เพื่อรับทราบปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ป่วย เภสัชกรผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาควรที่จะสามารถวิเคราะห์และ ประเมินสถานภาพของผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ และต้องพัฒนา ตนเองให้มีความรู้ในเรื่องของยาโรคและสาเหตุ วิธีการ ป้องกันโรค วิธีปฏิบัติตัวในขณะเจ็บป่วย รวมถึงวิธีการใช้ คำพูดอธิบายแก่ผู้ป่วยเพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการปรับ เนื้อหาสาระของข่าวสาร ที่จะทำการสื่อสารให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคลในเวลาที่จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น