ชื่อนักศึกษา : วิรัช ตันตระกูล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2542
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรม การบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของ ผู้บริหารโรงเรียน (2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการบริหารงาน วิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์ มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ โรงเรียนและครูผู้สอนจากโรงเรียนกลุ่มระดับคุณภาพสูง 103 โรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำ 103 โรงเรียน รวม 618 คน เครื่องมือที่ ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ((-,x)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ ค่าถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS/PC(+) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ระดับพฤติกรรมการบริหารงาน วิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหาร โรงเรียนกลุ่มระดับคุณภาพสูงค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนโรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำค่าเฉลี่ยอยู่ในระัดบปานกลาง (2) ผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษากลุ่มระดับคุณภาพสูงกับโรงเรียนกลุ่มระดับ คุณภาพต่ำ มีพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการแต่ละมาตรฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาพรวม พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ 4 มาตรฐาน แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน ตามลำดับจากมากไปหาน้อยกลุ่มโรงเรียน ระดับคุณภาพสูง ปัจจัยภายใน ได้แก่ ห้องสื่อการเรียน, อายุของ ครูวิชาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.), ครูวิชาการเพศชาย, วัสดุครุภัณฑ์, อายุราชการ ณ โรงเรียนปัจจุบันของครูวิชาการโรงเรียน, ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบาย สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ (สปอ.), อายุเฉลี่ย ของผู้ปกครองนักเรียน, อาชีพของผู้ปกครองนักเรียน, ส่วนโรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำ ปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุของครูผู้สอน, อายุ ราชการของผู้บริหารโรงเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทักษะ (คณิตศาสตร์), วุฒิการศึกษาของครูผู้สอน, ห้องสมุดโรงเรียน, ตำแหน่งของครูวิชาการโรงเรียน, ห้องกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ, จำนวนนักเรียนหญิง, ห้องกิจกรรมสหกรณ์, จำนวนครูเพศชาย, ผู้บริหารโรงเรียนเพศหญิง, ปัจจัยภายนอก ได้แก่ รายได้ต่อเดือน โดยเฉลี่ยของผู้ปกครองนักเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น