ชื่อนักศึกษา : เรืองลักษณ์ ทิพย์ทอง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขา : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ปี : 2541
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร ประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อม ของคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการ จัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ความพร้อมด้านทัศนคติ ที่มีต่อโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวใน ชุมชน และเพื่อศึกษาการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และ สถาบันอื่น ๆ ในชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสังเกต ประชากรในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้าน จากศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน 14 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละตำบล ในพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษา ความพร้อมด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว พบว่า คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้านส่วนใหญ่มีความรู้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับการติดต่อและการป้องกันโรค แต่มีความรู้ น้อยเกี่ยวกับอาการและการรักษา และไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวมาก่อน ความพร้อมด้านทัศนคติที่มีต่อโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว พบว่า คณะกรรมการศูนย์ฯ ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อโรคเอดส์และผู้ป่วยโรคเอดส์ และเห็นด้วยกับนโยบายส่งเสริมให้ ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ในชุมชน การ สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และ สถาบันอื่น ๆ ในชุมชน ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐ พบว่า ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ทั้ง 14 แห่ง ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโป่ง และสำนักงาน ประชาสงเคราะห์จังหวัดราชบุรี ในด้านคำปรึกษาแนะนำ งบประมาณ และการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการศูนย์ฯ คิดว่าการสนับสนุนที่ได้รับยังไม่ เพียงพอ ต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานความรู้เกี่ยวกับ การจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพของผู้ป่วยโรคเอดส์ ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่ให้บริการด้านโรคเอดส์ และการศกึษา ดูงาน การสนับสนุนด้านงบประมาณ เอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านโรคเอดส์ อุปกรณ์ทำแผล และ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย ควรมีแผนงาน โครงการ ที่ชัดเจน ในการพัฒนาศักยภาพของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน จัดสรรงบประมาณในการ ดำเนินงานตามแผนงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการแผนงานร่วมกัน เพื่อให้ เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ระดับปฏิบัติการควรเตรียมความพร้อมด้าน การดำเนินงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่คณะกรรมการศูนย์ฯ โดยจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านการจัด บริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว จัดให้มีการศึกษาดูงานขององค์กร ชุมชนที่มีการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการทำงาน จัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่คน ทุกกลุ่มในชุมชนอย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย โรคเอดส์ เพื่อช่วยให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ และช่วยให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ กล้าที่จะเปิดเผยตัวต่อสังคม ซึ่งจะช่วยลดปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของศูนย์ฯ ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน หรือองค์กรในระดับท้องถิ่น ควร ร่วมมือกันในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ เพราะจะทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ใน ชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ อบต.ควรสนับสนุนในด้านงบประมาณแก่ศูนย์สงเคราะห์ ราษฎรประจำหมู่บ้าน ในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น