การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2543

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2543
ชื่อนักศึกษา : บุญรัตน์ สมคเณ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
ปี : 2544
ISBN : 974-653-046-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลโครงการ ฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้ เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ จำนวน 2 คน วิทยากร จำนวน 47 คน ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ แบบทดสอบ และแบบบันทึกการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้รูปแบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP MODEL) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโดยประเมินความสอดคล้องระหว่าง นโยบายกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้รับ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง และความสอดคล้องระหว่าง วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้น ความรู้ชั้นสูงกับ ความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยประเมินความพร้อม และความเหมาะสมของ หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร ระยะเวลาที่ใช้ใน การฝึกอบรม สภาพความพร้อมของอุปกรณ์การฝึกอบรม สถานที่ฝึกอบรม งบประมาณ ด้านกระบวนการฝึกอบรม โดยประเมินกิจกรรมการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล ด้านผลสัมฤทธิ์ โดยประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรมด้านความรู้ ทักษะ และการนำไปใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการค่อนข้างมาก คือสามารถนำความรู้ไปใช้ ฝึกอบรมต่อไปได้ และวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมสนองต่อความต้องการ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลในการนำไปใช้ฝึกอบรมต่อไปได้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ว่าส่วนประกอบต่างๆ ที่สนับสนุนในการดำเนินการฝึกอบรม ได้แก่ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สภาพความพร้อม ของอุปกรณ์การฝึกอบรม งบประมาณ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม คือผู้บริหารโครงการ วิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ยกเว้น สถานที่ฝึกอบรม มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมาก ด้านกระบวนการ สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความเห็นว่า กระบวนการฝึกอบรม มีความเหมาะสมระดับมาก ยกเว้นการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้และทักษะ อยู่ในระดับดี ส่วนด้านการนำความรู้ไปใช้ สรุปได้ว่ามีการนำความรู้ไปใช้ในการอบรมอยู่ในระดับดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น