ชื่อนักศึกษา : นิศารัตน์ เอี่ยมชาญบรรจง
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : สุขภาพจิต
ปี : 2545
ISBN : 974-17-0851-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และระดับความเครียด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด472 คน ซึ่งเป็นครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียด และแบบสอบถามความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ สถิติไลลี่ฮู๊ด และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา 1. ครูมีความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 69.5, 71.0, 66.7 และ 72.7 ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตของครู คือ ความอบอุ่นในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. เจตคติเกี่ยวกับสุขภาพจิตของครู ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ศึกษา 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตของครูคือ อายุสถานภาพสมรส ความอบอุ่นในครอบครัว สังกัดที่ทำงาน และประสบการณ์ในการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของครูคือ ความอบอุ่นในครอบครัว ประวัติครอบครัวป่วยทางด้านจิตใจและอารมณ์ ความหนักใจกับปัญหาในที่ทำงาน และความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ส่วนปัจจัยด้านเจตคติและทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น