ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้บริการของธนาคารออมสิน "กรณีศึกษาจากกรุงเทพมหานครและราชบุรี"

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้บริการของธนาคารออมสิน "กรณีศึกษาจากกรุงเทพมหานครและราชบุรี"
ชื่อนักศึกษา : จารุนันท์ ชีวีวัฒน์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เศรษฐศาสตร์
สาขา : เศรษฐศาสตร์
ปี : 2537
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://laic.dpu.ac.th/index.php?page=index_thesis
บทคัดย่อ : ศึกษาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคาร ออมสิน โดยใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแบ่ง เท่า ๆ กัน ระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดราชบุรี ซึ่ง เป็นการศึกษาอย่างกว้าง ๆ ครอบคลุมไปถึงบุคคลอาชีพต่าง ๆ วิธีการคัดเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง โดยที่ประชาชนทุกคนที่ไปใช้บริการของธนาคารมีโอกาสถูก เลือกเท่า ๆ กัน โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ออกเป็นจังหวัดละ 200 ตัวอย่าง โดยสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ 100 ตัวอย่าง ธนาคารออมสิน 100 ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ ได้นั้นเป็นข้อมูลจากภาคสนามทั้งสิ้น ผลที่ได้สามารถยืนยัน สมมติฐานที่ว่า ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมักนิยมใช้บริการ กับธนาคารออมสินมากกว่าธนาคารพาณิชย์ ส่วนผู้มีรายได้สูง มักจะนิยมใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าธนาคาร ออมสิน เมื่อพิจารณากลุ่มประชาชนซึ่งมีรายได้ในระดับเดียว กันในจังหวัดราชบุรีนั้นนิยมใช้บริการกับธนาคารออมสิน มากกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานคร และผู้ใช้บริการกับ ธนาคารออมสินโดยไม่ใช้ธนาคารพาณิชย์นั้นจะอยู่ในกลุ่ม ของผู้ที่ไม่มีรายได้ถึงมีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือน และจะอยู่ในกลุ่มอาชีพนักเรียนนักศึกษาและ แม่บ้าน เหตุผลสำคัญในการฝากเงินกับธนาคารออมสินก็คือ การที่ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินของรัฐโดยมีรัฐบาล เป็นประกันจึงปราศจากความเสี่ยงใด ๆ โดยทั่ว ๆ ไป ในการเลือกฝากเงินของประชาชนนั้นประชาชนจะให้ความ สนใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับจากเงินฝากนั้น โดยคำนึงถึง ความเสี่ยงด้วย และ TRANSACTION COST จากการได้รับ การบริการซึ่งสามารถลดได้ คือ การมีระบบฝากถอนเงินด่วน (ATM),มีสถานที่สะดวกและประสิทธิภาพในการบริการที่ดี จากพนักงาน ส่วนประชาชนที่ใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์โดย ไม่ใช้ธนาคารออมสิน ชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา ดอกเบี้ยจากเงินฝากที่สูงกว่านั่นเอง ผู้เขียนพบว่ามี ประชาชนอีกกลุ่มซึ่งใช้บริการทั้งธนาคารออมสินและธนาคาร พาณิชย์ร่วมกัน กลุ่มคนพวกนี้เป็นผู้ไม่ชอบความเสี่ยง แต่ จะคำนึงถึงผลตอบแทนจากการกระจายความเสี่ยง จึงกระจาย ความเสี่ยงโดยถือเงินฝากทั้งธนาคารออมสินและธนาคาร พาณิชย์ โดยคำนึงว่าผลตอบแทนสูงย่อมได้รับความเสี่ยง สูงตามไปด้วย

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม, 2554 10:49

    ดีค่ะ หนูอ่านแล้วน่าสนใจดีค่ะ พอดีหนูกำลังทำวิจัยคล้าย ๆ เรื่องนี้อยู่ค่ะ พี่ช่วยส่งไฟล์ วิจัยเต็มรูปแบบมาให้หนูได้ไหมค่ะหนูจะได้เอามาศึกษาเป็นแนวทางค่ะ ส่งมาเมล์นี้นะค่ะ Sujinda_k02@hotmail.com ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ18 มกราคม, 2555 21:19

    ฝากส่งให้ด้วยได้ไหมคร่ะ...ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
    kanitta6433@hotmail.com

    ตอบลบ