ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านจากกรมอนามัย กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลระดับชั้น 3ฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านจากกรมอนามัย กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลระดับชั้น 3, 4 และ 5 จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ปิยะพงศ์ ด้วงเฮี้ยม
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท
ปี : 2545
ISBN : 974-04-2699-9
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การศึกษาศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงาน บริหารระบบประปาหมู่บ้านจากกรมอนามัย เป็นการศึกษาเพียงส่วนหนึ่งของแผนงานกระจาย อำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นตามนโยบายการกระจายอำนาจที่ประสบปัญหา การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปาหมู่บ้านจากกรมอนามัย รวมทั้งทราบถึง ปัจจัยที่ส่งผลให้ อบต.มีศักยภาพฯ ศึกษาจากกลุ่มศึกษาจำนวน 340 ราย เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการจำแนกพหุด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษามีศักยภาพในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านระดับปานกลาง ปัจจัยบุคคลด้านการศึกษาและรายได้มีผลต่อระดับศักยภาพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านการศึกษามีผลต่อปัจจัยด้าน ความรู้ โดยที่ปัจจัยด้านความรู้เป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพฯ จากการวิเคราะห์แบบ จำแนกพหุพบว่า เพศชาย, การมีการศึกษาสูง, มีรายได้สูง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ศักยภาพฯ โดยเพศชายมีศักยภาพฯ สูงกว่าเพศหญิง การมีการศึกษาระดับที่สูงทำให้ เกิดศักยภาพฯ สูงกว่าการมีการศึกษาระดับต่ำ รายได้ที่สูงกว่าก่อให้เกิดศักยภาพฯ ที่สูงกว่ารายได้ต่ำ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีศักยภาพฯ สูงคือผู้ที่มี การศึกษาสูง ควรให้การพัฒนาความรู้แก่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบลด้วยกันควรคัดเลือกผู้มีการศึกษาที่ดีเข้าเป็นผู้บริหารองค์กร ต่อไป ควรมีการศึกษาองค์กรที่ได้รับการถ่ายโอนงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น