การศึกษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา : ศึกษา เฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา : ศึกษา เฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : สามารถ นิลวงศ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขา : สวัสดิการแรงงาน
ปี : 2534
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรม เครื่องเคลือบดินเผาศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างงานทั้งในลักษณะการจ้างงานแบบแข่งขันและระ บบผูกขาด แล้วจึงได้นำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการจ้างงานใน อุตสาหกรรมนี้กับการขาดแคลนคนงาน พร้อมทั้งผลกระทบของระบบการจ้างที่ มีต่อการใช้เทคโนโลยี วิธีการศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำงานใน กิจการเครื่องเคลือบดินเผาที่ลาออกจากงานไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทำให้ได้ ข้อมูลเบื้องต้นเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์นายจ้าง ลูกจ้างเพื่อให้ได้คำตอบที่ ตรงกันความต้องการ อันเป็นการลดปัญหาและประหยัดเวลาในการเก็บรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นนายจ้าง 22 คน หรือ ร้อยละ 45.0 ของนายจ้างทั้งหมด และลูกจ้างจำแนกตามลักษณะงาน 7 ประเภท จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 ของลูกจ้างทั้งหมด การสัมภาษณ์นายจ้างสัมภาษณ์จากบริเวณสถานประกอบการและ สถานที่พบ ส่วนลูกจ้างสัมภาษณ์ขณะที่ทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์และนัด หมายเพื่อสัมภาษณ์ต่อที่พักหรือร้านค้าปลีกในหมู่บ้านที่เป็นที่พักอาศัย อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาในจังหวัดราชบุรีต่อเนื่องกัน มานานกว่า 50 ปี คือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 49 แห่ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีบิดามารดาเป็นเจ้าของกิจการที่เคยเป็นช่างปั้นมา ก่อน ปัจจุบันการจ้างงานในกิจการสมัยใหม่ได้แข่งขันกันในด้านการบริหาร งานบุคคล แต่ในกิจการการผลิตเครื่องเคลือบดินเผายังคงใช้ระบบการจ้าง งานที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แรงงานทุกประเภทโดยเฉพาะช่างฝีมือเพราะไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือ การผลิตสมัยใหม่ได้ประกอบกับได้มีกิจการตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาการขาด แคลนแรงงานจึงได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นมีการซื้อตัวลูกจ้างด้วยราคาสูง นายจ้างได้ตระหนักในปัญหานี้ดีและได้หาทางแก้ไขด้วยการรวมรวมตัวกันเป็น สมาคม เพื่อกำหนดราคาค่าจ้าง และให้สมาชิกทุกรายถือปฏิบัติในลักษณะของ การผูกขาดการจ้าง (CARTEL) แต่วิธีการนี้ไม่ได้ผลเพราะสมาชิกยังคงได้ ใช้วิธีการแย่งกันซื้อตัวลูกจ้างอยู่ นอกจากนี้สมาคมยังได้กำหนดราคาการ จำหน่วยผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการขาดตัดราคาให้สมาชิกรายถือปฏิบัติด้วย ลูกจ้างในกิจการการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่เป็นขาย มีร้อยละ 78.0 และสมรสแล้วร้อยละ 91.0 ร้อยละ 75.0 มีสมาชิกในครอบครัวร่วม ทำงานในสถานประกอบการเดียวกันมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงานถึงร้อยละ 79.0 และลูกจ้างเกือบทั้งหมดคือร้อยละ 92.0 มีหนี้สินที่เกิดจากการซื้อตัว ของนายจ้างเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 ถึงเกินกว่า 50,000 บาท ในเรื่องสภาพการจ้างนายจ้างไม่ได้กำหนดระเบียบข้อบังคับในการทำ งานไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ปฏิบัติติดต่อกันมานับตั้งแต่มีการตั้งโรงงาน การทำงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่จะหยุดงาน 1 วัน เมื่อทำงานแล้ว 15-16 วัน ส่วนวันหยุดตามประเพณีลูกจ้างจะหยุดงานตามความจำเป็น สำหรับค่าจ้าง ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน รายเดือน และราย เหมาตามชิ้นงานลูกจ้างเกือบทุกประเภทที่เป็นช่าง คือ ช่างปั้น ช่างติดลาย ช่างตีโอ่ง คนงานนวดดิน จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเหมาตามชิ้นงาน ช่างเตา และช่างติดลายพิเศษได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนโดยช่างเตาจะได้รับค่าจ้าง เพิ่ม ในการเผาแต่ละเตา ลูกจ้างเผาแต่ละเตา ลูกจ้างรายวันได้ แก่กรรมกรทั่วไป การกำหนดค่าจ้างเหมาตามชิ้นงาน สมาคมเป็นผู้กำหนดให้ นายจ้างทุกรายถือปฏิบัติ มีการปรับขึ้นค่าจ้างตามการปรับราคาขายส่ง และ การประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนค่าจ้างรายเดือนและรายวันนายจ้าง แต่ละรายเป็นผู้กำหนด นายจ้างจะซื้อตัวลูกจ้างที่เป็นช่างฝีมือ เพราะมีช่างฝีมือจำกัดไม่พอ เพียงกับความต้องการ ผู้ที่เป็นช่างไม่มีเวลาฝึกสอนผู้ที่ต้องการเป็นช่างเพราะ ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ได้ปริมาณงานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างปั้น โอ่งซึ่งเป็นคนงานที่มีความสำคัญที่สุด ซึ่งต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกมือด้วยการฝึก หัดช่างจึงใช้วิธีการ ครูพักลักจำ ลูกจ้างยังไม่ได้รับสิทธิขั้นต่ำที่จำเป็นตามกฎหมายมีสภาพแวดล้อมใน งานที่การทำงานที่ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย ดังนั้นผู้ที่อยู่ในวัยที่จะเข้าสู่ ตลาดแรงงาน จึงเลือกที่จะไปทำงานในสถานประกอบการที่มีสภาพการจ้างดี กว่า ซึ่งปัจจุบันกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ปัญหาการขาดแคลน ลูกจ้างทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนคนงานที่นายจ้างใช้วิธีการซื้อตัวและให้ ลูกจ้างรับสภาพหนี้แทนที่จะปรับปรุงสภาพการจ้างให้ถูกต้อง จึงเป็นการขมวด ปมปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคือเจ้าหน้า ที่ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปแนะนำชี้แจงนายจ้างให้เปลี่ยนทัศนคติใน การจ้างงานของนายจ้างให้เป็นรูปธรรม หาไม่แล้วจะเกิดปัญหาการขาด แคลนคนงานจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ โอ่งมังกรที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีและการดำรงชีวิตแบบไทย ๆ ต้องสูญเสียไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น