พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบทจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบทจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กิริยา ลาภเจริญวงศ์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : รัฐศาสตร์
สาขา : ประชากรศาสตร์
ปี : 2543
ISBN : 974-13-0567-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ในเขตเมืองและเขตชนบทของจังหวัดราชบุรีรวมทั้งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40-59 ปี จำนวน 600 คน สุ่มเลือกจาก 3 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม โดยแยกเป็นเขตเมือง300 คน เขตชนบท 300 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลการศึกษาภาพรวม พบว่า สตรีตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ40-44 ปี สตรีจำนวนสามในสี่มีสถานภาพสมรสคู่ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีมากกว่าครึ่งของสตรีที่เป็นตัวอย่างสตรีในเขตเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจรายได้ครอบครัวเฉลี่ย 15,330 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้ 5,000 บาท และน้อยกว่าต่อเดือนสตรีจำนวนครึ่งหนึ่งยังคงมีประจำเดือน อายุเฉลี่ยเมื่อหมดประจำเดือน 48.9 ปีสตรีเกือบครึ่งยังไม่รู้จักคลินิกวัยทอง สตรีส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับกลางสตรีในเขตเมืองมีความรู้กี่ยวกับภาวะหมดระดูและมีการดูแลสุขภาพตนเองดีกว่า สตรีในเขตชนบท เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู พบว่า เขตที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดู แหล่งความรู้ที่สตรีได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู จำนวนแหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะหมดระดู และประเภทของสถานบริการ มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานขณะที่ตัวแปรด้านอายุไม่ เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ สตรีที่มีอายุมากกว่ามีการดูแลสุขภาพดีกว่าสตรีที่มีอายุน้อย ส่วนระดับปัญหาสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวเนื่องจากการหมดระดูไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวั ยหมดระดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น