ความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : พนิดา ทีตี้
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-158-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทราบระดับความพร้อมของบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 :ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี และเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครู และตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับความพร้อม ของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี จำนวน 188 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและ ครู และตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 752 คน และตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือโรงเรียนประถมศึกษาจำนวนสามอำเภอ อำเภอละ สองโรงเรียน คือ โรงเรียนที่อยู่ในเมืองและโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง จำนวนหก โรงเรียน โรงเรียนละสี่คน โดยผู้ให้สัมภาษณ์ คือ บุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู ตัวแทนชุมชน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (questionnaire) เกี่ยวกับความ พร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (non - structural interview) โดยสอบถามและสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาทั้งสองกลุ่ม คือ บุคลากรในสถานศึกษาและตัวแทนชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่(f), ค่าร้อยละ(%), ค่าเฉลี่ย((-,X)), ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การวิเคราะห์แบบไคว-สแควร์((+,c)(2)-test), การทดสอบ มาร์สคีโล (Marascuilos test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหาร การศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความพร้อมระดับมาก 2. ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู และ ตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 : ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี มีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ด้านการยอมรับ และด้านการมี ส่วนร่วม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น