ความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กานดา วาสะสิริ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : สิ่งแวดล้อมศึกษา
ปี : 2545
ISBN : 974-04-1900-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาการทำงาน ระดับการศึกษา การรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบ สอบถามกับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 148 ราย และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 7 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ รวมทั้งใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาประกอบ ผลการศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับต่ำ มีเจตคติในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับที่เห็นด้วยและมีบทบาทในการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติ และบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นอยู่ กับประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และบทบาทในการ จัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับบทบาทในเชิงลบ แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติ และเจตคติไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาท ในส่วนของปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้จากการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่าปัญหาเกิดจากองค์การบริหาร ส่วนตำบลยังขาดงบประมาณและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจึงควรเสนอให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้น หรือควรขอความช่วยเหลือและร่วมมือจากหน่วยงานอื่น และควรจัดอบรมในเรื่องของบทบาท อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แก่สมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลเพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น