การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กต่างชาติและครอบครัวใน 3 พื้นที่ จ.พังงา สมุทรสงครามและราชบุรี

การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กต่างชาติและครอบครัวใน 3 พื้นที่  จังหวัดพังงา สมุทรสงครามและราชบุรี

โดย : ผู้ช่วยศาตราจารย์กรรณิกา ขวัญอารีย์

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดกระแสการอพยพโยกย้ายถิ่นขนาดใหญ่ในประเทศพม่าเข้าสู่ประเทศใกล้เคียง มีกาคาดการณ์ว่า ปัจจุบันมีผู้อพยพย้ายถิ่นจากพม่าสู่ประเทศใกล้เคียงเป็นจำนวนประมาณห้าล้านคน (กฤตยา อาชวนิจกุล :2543,น.1) และมีผู้อพยพเข้าประเทศไทยกว่า 1 ล้านคน

การเข้าเมืองของผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ไม่ถูกกฎหมาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้ ผู้ลักลอบเข้าเมืองมาทำงาน ผู้เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ และผู้ผลัดถิ่นลี้ภัยจากสงคราม และทั้ง 3 กลุ่มนี้ได้เป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเด็กต่างชาติ ทั้งเด็กๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านั้นแล้วด้วยตนเอง หรือการที่พ่อแม่เป็นคนต่างชาติแต่เด็กเกิดในประเทศไทยและรัฐไทย ไม่อนุญาตให้มีสถานะอยู่อาศัยได้ตามเกณฑ์ของรัฐ ทำให้เด็กต้องกลายเป็นคนไร้สัญชาติและขาดสิทธิขั้นพื้นฐานหลายประการ

ปัญหาเด็กต่างชาติในประเทศไทยถูกสังคมโลกจับตามองเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กควรต้องได้รับรวมถึงการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมซึ่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

แรงงานเด็กต่างชาติถ้าอยู่ในช่วงอายุ 15-17 ปี มักจะทำงานในกิจการประมงและประมงต่อเนื่องมากที่สุด รองลงมาอายุ 9-12 ปีทำงานในภาคเกษตรกรรมและรับใช้ในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กต่างชาติไม่ได้จดทะเบียน ไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งในเรื่องสัญชาติ ค่าแรง และสิทธิทางด้านการศึกษาเรียนรู้ การอ่านเขียนภาษาท้องถิ่น/ ภาษาไทย และกระบวนการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตอื่นๆ(ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย : 2549,น. 0-2)

สืบเนื่องจากค่าแรงต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ มีชั่วโมงการทำงานที่ยาว พักผ่อนน้อย ถูกโกงค่าแรง ถูกหักเงิน เมือเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน แรงงานต่างชาติจะหาทางรักษาเองและ ไม่ได้รับค่าแรงขณะเจ็บป่วย หรือชดเชยจากทุพพลภาพ ต้องทำงานโดยไม่ได้รับค่าแรงหลายเดือน (มูลนิธิรักษ์ไทย องค์กรแคร์ประเทศไทย: 2545.เอกสารอัดสำเนาไม่ระบุหน้า) จึงส่งผลให้สภาพที่อยู่อาศัย ของผู้อพยพต้องอยู่กันอย่างแออัดและมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน เกือบทั้งหมดต้อง กินอยู่หลับนอนในห้องเล็กๆเพียงห้องเดียว ไม่มีจำนวนห้องน้ำที่เพียงพอ ขาดระบบกำจัดขยะและน้ำเสีย ขาดแหล่งน้ำดื่มที่สะอาด ขาดน้ำใช้เพื่อการซักล้างและชำระร่างกาย อันเป็นผลต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ที่ผู้อพยพกว่าครึ่ง เป็นโรคท้องร่วงและผิวหนัง (กฤตยา อาชวนิจกุลและคณะ:2543,น. 205)

แต่อย่างไรก็ตามต้องมีทางเลือกที่จะให้กลุ่มเด็กแรงงานต่างชาติกลุ่มนี้ต้องได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจชุมชนตนเอง ที่มาและความรักในวัฒนธรรมท้องถิ่นตนเองและไทย นอกจากนี้ยังสามารถเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่ถูกเลือกปฏิบัติในอนาคต

โครงการต่อต้านการค้าเด็กข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งไปที่การปกป้องเด็กๆ จากการเสี่ยงต่อการถูกทำร้าย ทารุณกรรม การหาประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นผลจากการอพยพข้ามแดน โดยการหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อระบบการปกป้องเด็กในบริเวณพื้นที่อพยพ สำหรับประเทศไทยมีการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนเพื่อเด็กต่างชาติ ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี รวมทั้งสิ้นจำนวน 5 ศูนย์

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประเมินผลเพื่อแสวงหาแนวทาง/รูปแบบที่เหมาะสมต่อการปกป้องเด็กในพื้นที่อพยพโครงการฯจึงจัดทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กต่างชาติและครอบครัวใน3 พื้นที่คือ จังหวัดพังงา สมุทรสงครามและราชบุรี เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบวิถีชีวิตของเด็กเมื่อเริ่มต้นโครงการกับเมื่อสิ้นสุดโครงการ และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์และวิถีชีวิตของเด็กต่างชาติและครอบครัวตามที่เผชิญอยู่จริง

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานของผู้อพยพและประสบการณ์การย้ายถิ่น
  2. เพื่อทราบข้อมูลด้านการศึกษาและการสนับสนุนการศึกษาของเด็กอพยพ
  3. เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานและการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง
วิธีการดำเนินงานวิจัย

ทีมวิจัยประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและเจ้าหน้าที่จากโครงการต่อต้านการค้าเด็กข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(ประเทศไทย) และครูในศูนย์การเรียนเพื่อเด็กต่างชาติทั้ง 5 ศูนย์(เป็นผู้อพยพ)ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัย

ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

ประชากรในการศึกษาคือเด็ก และผู้ปกครอง ในศูนย์การเรียนเพื่อเด็กต่างชาติของโครงการต่อต้านการค้าเด็กข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประเทศไทย จำนวน 5 ศูนย์ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดพังงา สมุทรสงคราม และราชบุรี

การสุ่มตัวอย่าง นักวิจัยจะเลือกผู้ตอบแบบสอบถามโดยวิธีการเลือกการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) และวิธีให้ผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละรายแนะนำว่าใครเป็นผู้ตอบแบบสอบถามรายต่อไป (Snowball sampling) ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องเป็นเด็กและผู้ปกครองในศูนย์ฯ การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายผู้วิจัยจะเลือกผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มแรกโดยวิธีการสุ่มเลือกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนในกลุ่มแรกนี้จะบอกชื่อคนอื่นๆที่ควรจะตอบแบบสอบถามเป็น รายต่อๆไป

ตารางแสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่าง


ศูนย์เรียนรู้เพื่อเด็กต่างชาติ
  • จ.พังงา อ.ตะกั่วป่า (3 ศูนย์)  เด็ก 249 คน ผู้ปกครอง 249 คน รวม 498 คน
  • จ.สมุทรสงคราม อ.เมือง (1 ศูนย์) เด็ก 45 คน ผู้ปกครอง 45 คน รวม  90 คน
  • จ.ราชบุรี อ.เมือง (1 ศูนย์) เด็ก 80 คน ผู้ปกครอง 80  คน รวม 160 คน
  • รวมทั้งสิ้น เด็ก  374 คน ผู้ปกครอง  374 คน รวม  748 คน 

วิธีการเก็บช้อมูล

การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ
  • ระยะแรก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กในศูนย์การเรียนเพื่อเด็กต่างชาติ และผู้ปกครองโดยใช้แบสอบถามที่ต้องแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษแล้วแปลเป็นภาษาพม่า อีกครั้งเพื่อใช้สัมภาษณ์ เมื่อสัมภาษณ์เรียบร้อยแล้วก็ต้องแปลเอกสารกลับเป็นภาษาไทยเพื่อนำไปประมวลและวิเคราะห์ต่อไป
  • ระยะที่สอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูในศูนย์ ใช้Focus Group 2 ครั้ง ที่ต้องสื่อสารทั้ง 2 ภาษาโดยครูบางคนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้จะช่วยเป็นล่ามแปลจากอังกฤษเป็นพม่าและพม่าเป็นอังกฤษ
เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท
  1. แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยทั้งแบบปลายปิดและปลายเปิด ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไปของเด็ก สภาวะของเด็กในปัจจุบันและ การย้ายถิ่นมาอยู่ในประเทศไทย ภูมิหลังของครอบครัว และ ประสบการณ์เกี่ยวกับการย้ายถิ่น และ การเลือกปฏิบัติกับแรงงานต่างชาติ และบุตรหลาน
  2. แบบสัมภาษณ์ครูในศูนย์ ประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ สภาพปัญหาการอพยพของผู้อพยพ ชีวิตความเป็นอยู่ และการศึกษาของเด็กอพยพ
การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมโดยวิธีการสังเกตและสนทนากลุ่ม มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนำประเมินและตรวจสอบข้อมูลร่วมกับเชิงปริมาณ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การพรรณนา

ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมด้วยการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS Version 14 ข้อมูลแต่ละพื้นที่ทำการบันทึกลงในโปรแกรม SPSS แยกจากกันเพื่อการวิเคราะห์ที่สะดวก จากนั้นจึงทำการตรวจสอบข้อมูล แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบันทึกข้อมูลและอธิบายประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษา

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้อพยพและประสบการณ์การย้ายถิ่น

ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็น ผู้ชาย ร้อยละ 64.2 อายุอยู่ในช่วง 27-37 ปีร้อยละ 51.1และเด็กที่ให้สัมภาษณ์ ส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชาย ร้อยละ 57.7 อายุอยู่ในช่วง 5-10 ปี ร้อยละ 55.4 ระดับการ ศึกษาของสมาชิกในครอบครัวเมื่อแยกความแตกต่างเรื่องเพศปรากฏว่า สมาชิกเพศชายและหญิง ศึกษาในระดับ เกรด1-เกรด 6 ร้อย70และ65 ตามลำดับ

เด็กๆส่วนใหญ่พักอาศัยกับพ่อและแม่มากที่สุดร้อยละ 85.4 เกิดในประเทศพม่า โดยแยกเป็น รัฐทวอย รัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยง ตามลำดับเกิดในประเทศไทย ร้อยละ 39.8 สำหรับสถานที่เกิดพบว่าส่วนใหญ่เกิดที่บ้าน (โดยหมอตำแย) ร้อยละ 63.7 มีเอกสารรับรองการเกิดถึงร้อยละ 58 ซึ่งเอกสารรับรองการเกิดส่วนใหญ่เป็นสูติบัตร ร้อยละ31 และสำหรับการมีบัตรประจำตัวของเด็ก ปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารประจำตัว ร้อยละ 58 รองลงมามีเอกสารประเภททร.38/1 – เลข 13 หลัก ร้อยละ 18.5 ยกเว้นจังหวัดสมุทรสงครามที่พบว่ามีผู้ที่มีเอกสารประเภททร.38/1 – เลข 13 หลักและผู้ที่ไม่มีเอกสารในจำนวนที่ไล่เลี่ยกันคือร้อยละ 37.8 และ 33.3 ตามลำดับ

แต่ละครอบครัวที่มีผู้อพยพส่วนใหญ่มีผู้ที่มีงานทำจำนวน 2 คนร้อยละ 47.6 ซึ่งสอดคล้องกับผู้ที่มีใบอนุญาต/เลข 13 หลัก ส่วนใหญ่มีใบอนุญาตครอบครัวละ 2 คน ร้อยละ 48.8 ประกอบอาชีพทำสวนยาง ก่อสร้าง และประมง/ประมงต่อเนื่อง

ถิ่นฐานบ้านเกิดของผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากรัฐทวอยร้อยละ 56.7 สื่อสารด้วยภาษาพม่าร้อยละ 47.3 ส่วนใหญ่เดินทางเข้ามากับนายหน้า ร้อยละ 47 มีความรู้สึกไม่เชื่อใจนายหน้าเลย ร้อยละ 53.2 และรู้สึกว่าการเดินทางเสี่ยงมากร้อยละ 46.5 สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 7,000 - 65,000 บาทขึ้นอยู่กับวิธีการเดินทาง มี 3 ช่องทาง คือ
  1. ช่องทางที่หนึ่ง เกาะสอง จังหวัดระนอง กลุ่มแรงงานส่วนใหญ่ที่เข้ามา โดยเดินทางเข้ามาเองและผ่านกระบวนการนายหน้า (ทั้งนายหน้าที่เป็นคนไทยและนายหน้าที่เป็นพม่า) ค่าใช้จ่ายที่เข้ามาเกาะสอง ประมาณ 65,000 บาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานจากรัฐทวอย
  2. ช่องทางที่สอง แรงงานข้ามชาติเมาทางชายแดนด้านด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มที่มาทางช่องทางนี้ส่วนใหญ่จะเดินทางเข้าโดยผ่านกระบวนการของนายหน้า ผ่านทั้งนายหน้าไทยและนายหน้าพม่า เดินทางจากสังขละบุรีมาโดยรถปิคอัพ หรือรถตู้ ค่าใช้จ่ายประมาณ 12,000 – 13,000 บาท แรงงานกลุ่มที่เดินทางเข้ามาทางช่องนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเชื้อชาติมอญ
  3. ช่องทางที่สาม แรงงานข้ามชาติเขามาทางช่องทางอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ช่องทางนี้แรงงานไม่นิยมเดินทางมาทางนี้เพราะค่อนข้างลำบากมีความเสี่ยงในรูปแบบต่างกันเช่น ทหารตำรวจพม่า กองกำลังกะเหรี่ยง และการเดินทางลำบาก แรงงานที่เดินทางเข้ามาช่องนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเชื้อชาติกะเหรี่ยง
ส่วนใหญ่อาศัยในประเทศไทยมากกว่า 5 ปี พื้นที่เป้าหมาย/ปลายทางที่เข้าประเทศส่วนใหญ่มุ่งสู่ภาคใต้ เช่นพังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต ร้อยละ 54

ประสบการณ์การอพยพย้ายถิ่นส่วนใหญ่คิดว่าอยู่เมืองไทยทำให้มีกิน มีเงินใช้ และมีงานทำร้อยละ39.6 รองลงมาคิดว่าชีวิตที่ประเทศไทยปลอดภัยกว่าในประเทศพม่าและที่สำคัญลูกๆได้ เรียนหนังสือร้อยละ 35.3 สำหรับงานที่ทำส่วนใหญ่เห็นว่าดีพอใช้เนื่องจากนายจ้างดี เก็บเงินได้ ได้เงินสม่ำเสมอ ซื้อบ้านที่พม่าได้เพราะได้งานที่ไทยร้อยละ 36.1

ส่วนที่ 2 การศึกษาและการสนับสนุนการศึกษาของเด็กอพยพ

การศึกษาของเด็กในขณะที่อยู่ที่ประเทศต้นทาง ส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับการศึกษา ร้อยละ 42.2 รองลงมาเคยได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 39.6 ปัจจุบันมีเด็กที่กำลังศึกษา จำนวน 274 คน ซึ่ง กำลังศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 59.9

เด็กที่กำลังศึกษาส่วนใหญ่ได้ใส่เครื่องแบบ/ชุดนักเรียน ร้อยละ 83.2 เครื่องแบบและอุปกรณ์การศึกษาของเด็กส่วนใหญ่ได้จากโรงเรียน/ศูนย์การเรียนให้มาร้อยละ 71.2 สิ่งที่เด็กชอบมากที่สุดเวลามาเรียนหนังสือคือการได้เรียนหนังสือร้อยละ 49.6 แต่สิ่งที่เด็กไม่ชอบมากที่สุดเวลามาเรียนหนังสือ คือ โรงเรียนเล็กเกินไป ไม่มีสนามเด็กเล่น และรถโรงเรียนเล็กเกินไป ร้อยละ 43.4

เด็กส่วนใหญ่ไม่ทำงานขณะเรียนหนังสือร้อยละ 75.2 มีเพียงร้อยละ 15.3 ที่ทำงานไปด้วยขณะเรียน งานที่ทำได้แก่ช่วยพ่อแม่ทำสวนยางตอนเช้า ทำงานก่อสร้าง แกะกุ้ง ปลา ผ่ามะพร้าว และช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านเป็นต้น ส่วนเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือมักจะอยู่กับญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกันร้อยละ 37 มีเด็กทำงานก่อสร้าง ทำสวนยาง และประมงต่อเนื่อง

เด็กส่วนใหญ่คบเพื่อนเชื้อชาติเดียวกันเช่นพม่า ร้อนละ 44.1 เนื่องมาจากการเป็นคนในรัฐเดียวกัน เช่นทวอย คบกันคราวละไม่เกิน 2-5 คน ร้อยละ 58.8 อยู่ในระแวกบ้านเดียวกันและพบกันที่โรงเรียน

นอกจากนี้ยังพบว่าสิ่งที่ทำให้ไม่มีความสุขมากที่สุดคือตำรวจมาจับบ่อยๆร้อยละ 23.3 รองลงมาไม่ได้ไปโรงเรียนร้อยละ 20 ยังมีบางรายโดนเพื่อนบ้านทุบตี และไม่ชอบที่ต้องไปจ่ายเงินให้ตำรวจ

เมื่อพิจารณาถึงเรื่องกิจกรรมที่ทำส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนผู้อพยพด้วยกันหรือบางครั้งหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเป็นผู้จัดให้เช่นงานวันเด็ก วันปีใหม่ วันสงกรานต์ และการแข่งบอลล์ จะมีกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนในพื้นที่บ้างเช่นไปวัดทำกิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น การหลีกเลี่ยงเช่นนี้จึงเป็นผลให้เด็กไม่เคยทะเลาะวิวาทร้อยละ82.3 มีบางรายต้องเผชิญกับ การแสดงออกต่างๆของชุมชน เช่นห้ามเล่นกับลูก ถูกขว้างด้วยก้อนอิฐ ถูกหาว่าเป็นขโมย โดนโกง

เมื่อเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไปรักษาที่คลินิก ร้อยละ44.9 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการบริการที่รวดเร็วกว่า ดีกว่าและไม่ดูถูกแรงงานข้ามชาติ แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะแพงกว่าโรงพยาบาล ผู้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักเป็นพ่อแม่ นายจ้าง และจ่ายเองตามลำดับ โดยโรคที่ต้องไปรักษาส่วนใหญ่เป็นไข้ เป็นหวัด ปวดหัว

ส่วนที่ 3 การจ้างงานและการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง

ผู้อพยพส่วนใหญ่ไม่มีปัญหากับนายจ้าง/คนในพื้นที่ ร้อยละ 85.6 ส่วนทัศนคติต่อคนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าใจดีร้อยละ 53.7 มีบางรายถูกทำร้ายเมื่อถูกจับ ถูกเลือกปฏิบัติเมื่อไปใช้บริการสาธารณะเช่นโรงพยาบาลหรือรถโดยสาร และคำที่มักใช้เรียกผู้อพยพส่วนใหญ่เรียกตามชื่อของ ผู้อพยพเองร้อยละ 83.9

ผู้อพยพได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภาครัฐมากที่สุดร้อยละ 71.6 ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชน เช่น World Vision องค์กรคริสเตียน แพทย์ไร้พรมแดน(M.S.F) ร้อยละ26.3 และปัจจัยที่ทำให้ความเป็นอยู่ของผู้อพยพดีขึ้น ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นการได้ค่าแรงเพิ่มร้อยละ 34.3

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

กลุ่มที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ถือว่าเป็นกลุ่มผู้อพยพที่ลักลอบเข้ามาทำงานเป็นพวกที่ตั้งใจหลบหนีเข้ามาเพื่อทำงานโดยเฉพาะ เพื่อหนีสภาพชีวิตที่ถูกทารุณกรรมจากการกวาดล้าง หรือการถูกเกณฑ์ใช้แรงงาน ถูกขูดรีดภาษี รวมทั้งความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น อดอยาก และไม่มีงานทำในประเทศพม่า

ผู้อพยพส่วนใหญ่เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้วมักจะไม่กลับไปเยี่ยมบ้านและไม่มีการติดต่อกับครอบครัวอีกอาจเป็นเพราะ สภาพที่อยู่อย่างผิดกฎหมาย ทำให้ผู้อพยพส่วนใหญ่ต้องขังตัวเองในบ้านหรืออยู่แต่ในชุมชนของตนเองเท่านั้น (สุภางค์ จันทวานิช : 2549 น. 207-208)

การเดินทางเข้าประเทศของผู้อพยพ และการถูกแสวงหาผลประโยชน์

พื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ปลายทางเมื่อเข้ามาอาศัยในประเทศไทย ส่วนใหญ่เข้ามาอาศัยในภาคใต้ที่จังหวัดพังงา ระนอง ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี มากที่สุด การเดินทางจากพม่ามายังประเทศไทย ผู้อพยพมักขอให้นายหน้าหรือบุคคลที่มีความคุ้นเคยกับเส้นทาง ด่านตรวจคนเข้าเมือง/ข่ายการ จ้างงานต่างๆ ช่วยเหลือในการลักลอบเดินทางเข้าไทยผู้อพยพรู้ตัวเองดีว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง จึงอยู่กันอย่างหวาดกลัวการจับกุมการบีบบังคับ และการผลักดันกลับประเทศพม่า

ผู้อพยพจำนวนมากมีประสบการณ์ในการถูกละเมิดและถูกแสวงผลประโยชน์จากเจ้าที่ของรัฐไทย แต่ถึงกระนั้นผู้อพยพก็ยังคงคิดว่าพวกเขาสามารถทนต่อสิ่งเหล่านี้ได้มากกว่าการมีชีวิตอยู่ในประเทศพม่า (สุภางค์ จันทวานิช: 2549, น. 205)

ผู้อพยพเข้ามาจะถูกรีดไถค่าธรรมเนียมอย่างผิดกฎหมาย(ยงยุทธ เฉลิมวงษ์และคณะ, น.227-228) และจำเป็นต้องพึ่งพาขบวนการค้ามนุษย์ให้เป็นผู้นำพาเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยขบวนการนายหน้าหรืออาศัยเครือข่ายทางสังคมหรือที่เป็นญาติหรือเพื่อนที่เคยทำงานมาก่อนแล้วชักชวนเข้ามาแรงงานเหล่านี้จะเข้าประเทศไทย โดยมีทั้งคนไทยและคนพม่าร่วมขบวนการ นายหน้าชาวพม่าจะไปรับมาจากหมู่บ้านและพามาหาคนไทยที่ชายแดนโดยวิธีการเดินทางมีได้หลายทาง ทางเรือ ทางรถยนต์หรือทางรถโดยสาร

เมื่อถึงประเทศไทย ผู้อพยพส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดเดียวไม่ย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยอีก แต่จะมีการย้ายที่อยู่ภายในจังหวัดบ่อยครั้งเพื่อให้ได้งานที่มั่นคงกับตนเองและครอบครัว เพราะส่วนใหญ่ทำงานก่อสร้าง ที่พักจึงย้ายไปเรื่อยๆ ตามสถานที่ก่อสร้าง ไม่ว่าที่พักอาศัยจะเป็นอย่างไร ผู้อพยพทั้งหมดเดินทางออกไปจากที่พักอาศัยและ/หรือสถานที่ทำงานน้อยมาก เพราะกลัวการจับกุม และเป็นที่รับรู้กันอีกประการหนึ่งว่าผู้อพยพหญิงจะมีความเสี่ยงต่อการถูกจับมากกว่าผู้อพยพชายเมื่อต้องออกเดินทางจากที่พัก

ความสัมพันธ์กับสังคมรอบข้าง

ในด้านความสัมพันธ์ของผู้อพยพกับสังคมรอบข้างพบว่า ผู้อพยพมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมนอกชุมชนของตนในระดับปานกลาง กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนผู้อพยพเองมากกว่า การอยู่อาศัยจึงแยกจากกันไม่มีการปะปนกับแรงงานไทย ผู้อพยพส่วนใหญ่จึงพูดภาษาไทยได้น้อย (สุภางค์ จันทวานิช : 2549,น. 207-208) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่อาศัยในประเทศไทยมากกว่า 5 ปี แต่ภาษาที่สื่อสารง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันก็ไม่สามารถสื่อสารได้ กลับส่งผลดีประการหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นคือสามารถหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทกับคนในชุมชน

การศีกษา

ถึงแม้ว่าไทยได้รับรองพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะเคารพสิทธิในการศึกษาของมนุษย์อย่างชัดเจน ทั้งในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. ซึ่งกำหนดว่ารัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษาใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ระบุว่า การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสองปีที่อย่างทั่วถึงโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องการตีความของคำว่า “บุคคล” ว่าเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นหรือไม่ ปัญหาที่ตามมาคือการไม่ยอมรับเด็กต่างชาติเข้าเรียนหรือหากเรียนได้ก็ไม่ให้หลักฐานการศึกษา ทั้งๆที่ในความเป็นจริงโรงเรียนสามารถออกหลักฐานทางการศึกษาได้ โดยบันทึกและลงนามกำกับข้อความว่า “ไม่มีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร์” ลงไว้ในหลักฐานการศึกษาของเด็กต่างชาติเหล่านั้น นอกจากปัญหาในการตีความและทรัพยากรบุคคล ยังมีปัญหางบประมาณที่ต้องเพิ่มขึ้นของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กต่างชาติไม่ได้รับการศึกษา

ในระดับชุมชนได้มีการสนับสนุนให้เด็กได้รับการเรียนรู้โดยองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องและองค์กรในชุมชนเอง แต่ไม่ได้เป็นที่เปิดเผยมากนัก เพื่อให้กลุ่มเด็กแรงงานต่างด้าวมีทางเลือกที่จะได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจชุมชนตนเองที่มา และความรักในวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย และประเทศต้นทาง เป็นแรงงานที่มีคุณภาพได้ในอนาคต

แรงงานเด็กที่ติดตามมากับครอบครัวต้องมาทำงานช่วยพ่อแม่ และเด็กที่เกิดในประเทศไทย ถือว่าเป็นเด็กไร้สัญชาติ โดยกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นเด็กเหล่านี้จะไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งในเรื่องสัญชาติ ค่าแรงและสิทธิทางด้านการศึกษาเรียนรู้ (มูลนิธิรักษ์ไทย: 2546)

สุขภาพอนามัย

การเข้าถึงบริการสุขภาพแรงงานต่างชาติ มีการแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีบัตรอนุญาตทำงานและไม่มีบัตรอนุญาตทำงาน สำหรับในกรณีที่แรงงานต่างด้าวที่มีบัตรสามารถเข้ารับบริการได้ตามรหัสโรงพยาบาลในบัตรประจำตัวคนงานต่างแต่การจะเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรและไม่รู้สิทธิของตนเองมากน้อยเพียงใด

ผู้อพยพซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ ระนอง และมหาชัย มักจะเลือกเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลของรัฐ ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรง หรือมีปัญหาในการคลอดบุตรเท่านั้น ในกรณีปกติมักซื้อยากันเอง หรือพึ่งสถานบริการของเอกชน ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะแพงกว่าก็ตาม เนื่องจากเพราะอยู่ใกล้ที่พักและไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน สำหรับ ผู้อพยพในจังหวัดชายแดน เช่น จังหวัดระนองยังมีทางเลือกรับบริการสาธารณสุขอีกทางหนึ่งคือ ข้ามพรมแดนกลับไปรับบริการที่เกาะสอง ประเทศพม่า (สุภางค์ จันทวานิช:2549,น.208)

การเข้ามาอยู่อย่างผิดกฎหมาย การมีรายได้น้อยต้องใช้ชีวิตอย่างอดออม และการที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้อพยพใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาสุขภาพของตน ใช้วิธีการรักษาที่ใช้เงินไม่มาก เช่นรักษากับหมอพื้นบ้าน หมอเถื่อนชาวต่างด้าวด้วยกันเองและถ้ามีเงินบ้างก็เลือกที่จะไปสถานบริการเอกชนมากกว่า เพราะรู้สึกสนิทสนมและไว้วางใจไม่ถูกซักถามมากว่าเป็นใครมาจากไหน เด็กที่เกิดในประเทศไทย ส่วนใหญ่ จึงเกิดที่บ้าน (โดยหมอตำแย) (สุภางค์ จันทวานิช:2549, น.206-207)

ข้อเสนอแนะ
  1. ควรมีการเชื่อมต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นเครือข่ายการทำงานมีการประสานงานกันในลักษณะเฉพาะด้านที่ครอบคลุมปัญหาด้านเด็กต่างชาติและแรงงานต่างชาติได้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีการดำเนินงานตามกลุ่มเป้าหมายของตนเอง ประกอบกับควรจัดให้มีเวทีที่จะแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ด้านเด็กและแรงงานต่างชาติมีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควรจัดให้มีหน่วยงานภาครัฐที่รองรับปัญหาโดยตรง
  3. ควรจัดทำนโยบายและแผนงานร่วมกันที่ชัดเจนในเรื่องการให้การช่วยเหลือ คุ้มครองเด็กต่างชาติและแรงงานต่างชาติ เพื่อให้ได้รับการดูแล คุ้มครอง ช่วยเหลือ จากหน่วยงานอย่างได้มาตรฐานตามนโยบาย
  4. ควรมีการจัดทำทะเบียนผู้อพยพในแต่ละหมู่บ้าน โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินการจะดีกว่าให้เจ้าหน้าที่อำเภอเป็นคนจัดการเพราะผู้อพยพอาจจะไม่ยอมมาแสดงตนเนื่องจากเกรงว่าจะถูกจับ ทั้งนี้ต้องอธิบายให้ผู้อพยพเห็นถึงประโยชน์ของการจดทะเบียนว่าเมื่อหน่วยงานทั้งของรัฐ และเอกชนทราบจำนวนที่ชัดเจนก็จะทำให้วางแผนให้การช่วยเหลือได้ตรงตามจำนวน และความต้องการ
  5. รัฐต้องนำการสาธารณสุขเข้าไปให้ถึงกลุ่มผู้อพยพ เช่น การวางแผนครอบครัว และการควบคุมโรคติดต่อ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในระยะยาวทั้งต่อผู้อพยพและคนไทยท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อให้ผู้อพยพสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อีกทางหนึ่ง
  6. รัฐต้องวางแผนประชาสัมพันธ์ไม่ให้คนไทยท้องถิ่นเกิดทัศนคติในทางลบต่อผู้อพยพในพื้นที่ ต้องอธิบายให้เห็นถึงความเป็นมาและสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ต้องอพยพเข้ามาในประเทศไทย เพื่อไม่ให้คนไทยท้องถิ่นและคนไทยทั่วไปเข้าใจผิดว่าผู้อพยพเป็นคนร้าย
บรรณานุกรม
  • กฤตยา อาชวนิจกุล(บรรณาธิการ) .คนต่างด้าวในประเทศไทยคือใครบ้าง? มีจำนวนเท่าไร? ระบบฐานข้อมูลแบบไหนคือตำตอบ? ระบบฐานข้อมูลแบบไหนคือคำตอบ?. บริษัทเอดิสัน: กรุงเทพฯ, 2547.
  • มูลนิธิรักษ์ไทย องค์การแคร์ประเทศไทย. การศึกษาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย กรณีศึกษา แรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร,2546.
  • ยงยุทธ แฉล้มวงษ์และคณะ. การศึกษาเชิงนโยบายในการจัดการคนงานต่างชาติที่ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทย: กรณีศึกา 4 จังหวัด.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา (TDRI)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.กรุงเทพฯ,2548.
  • สุภางค์ จันวานิช. การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กรณีศึกษาภาคประมงต่อเนื่อง ประมง เกษตรกรรม และการรับใช้ในบ้าน จังหวัดสมุทรสาคร. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.องค์กรแรงานระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ,2549.
ที่มาข้อมูล
กรรณิกา ขวัญอารีย์ . (2552). การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเด็กต่างชาติและครอบครัวใน 3 พื้นที่. [Online]. Available :http://swhcu.net/km/mk-articles/sw-km/96-knk.html.   มหาวิทยาลัยหัวเฉียว : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม. [2553 พฤศจิกายน 19 ].
อ่านต่อ >>

การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : จินตนา ไพบูลย์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ครุศาสตร์
สาขา : การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ปี : 2543
ISBN : 974-346-377-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เยาวชนชายที่ฝึกวิชาชีพทั้ง 6 หน่วยวิชาชีพ ได้แก่ วิชาชีพช่างยนต์ วิชาชีพช่างตัดผม วิชาชีพช่างไม้ วิชาชีพช่างไฟฟ้า วิชาชีพศิลปหัตถกรรมวิชาชีพเกษตรกรรม จำนวนทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบประเมินทักษะวิชาชีพ ซึ่งได้รับกลับคืนมาอย่างละ 180 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ หลักสูตรวิชาชีพ(ศิลปหัตถกรรม) สาเหตุที่เลือกเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพในขณะนั้น(เลือกตามเพื่อน) ลักษณะการเรียนวิชาชีพ (เรียนปฏิบัติอย่างเดียว)
อ่านต่อ >>

การศึกษาความรู้พื้นฐานและการสอนปรับความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาความรู้พื้นฐานและการสอนปรับความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วาสนา เกิดปั้น
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : หลักสูตรและการสอน
ปี : 2544
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อระบุข้อบกพร่องในความรู้ พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เริ่มเข้าเรียนใหม่ (2) เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนโดยการสอนปรับความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค101 ในภาคเรียนที่
อ่านต่อ >>

ภาวะโภชนาการของโฟเลตในสตรีปกติ สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มารับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ภาวะโภชนาการของโฟเลตในสตรีปกติ สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มารับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เภสัชศาสตร์
สาขา : อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
ปี : 2543
ISBN : 974-13-0786-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : โฟเลตเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเมตาบอลิซึมของร่างกายการขาดโฟเลตในสตรีอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์มีความต้องการโฟเลตมากขึ้นและสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องอาจมีระดับโฟเลตในร่างกายต่ำลงเกิดการขาดโฟเลตได้ การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงเพื่อประเมินภาวะโภชนาการของโฟเลตในสตรีปกติสตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มารับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรีโดยวิธีทางจุลชีววิทยา (Microbiological assay) โดยใช้เชื้อ~iLactobacillus casei~i, ATCC. No. 7469. พบว่าปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงของสตรีไม่ตั้งครรภ์ซึ่งไม่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจำนวน 38 คน เท่ากับ 12.29(+,ฑ)5.91 และ 123(+,ฑ)46.04นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในกลุ่มสตรี ไม่ตั้งครรภ์ซึ่งรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจำนวน 34 คน เท่ากับ 8.88 (+,ฑ) 4.73 และ 79.53(+,ฑ)30.46 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร ตามลำดับ ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ซึ่งไม่เคยรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์จำนวน 35 คน เท่ากับ 8.91 (+,ฑ)5.17 และ 98.44 (+,ฑ) 38.60 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับและในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ซึ่งเคย รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์จำนวน 31 คน เท่ากับ 8.50 (+,ฑ) 4.82 และ 76.03 (+,ฑ) 20.29 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ การศึกษาพบว่าปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงของกลุ่มสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดต่ำกว่าปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงของกลุ่มสตรีปกติไม่ตั้งครรภ์ซึ่งไม่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จึงควรเสริมโฟเลตให้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะการขาดโฟเลตที่อาจเกิดขึ้นได้
อ่านต่อ >>

แนวทางการจัดการน้ำเสียที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา ชุมชนเมืองราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : แนวทางการจัดการน้ำเสียที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา ชุมชนเมืองราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : สุพจน์ วัฒนวิทย์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สถาปัตยกรรมศาสตร์
สาขา : การวางผังเมือง
ปี : 2543
ISBN : 974-13-1363-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการจัดการน้ำเสียชุมชนเทศบาลเมืองราชบุรี โดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านลักษณะภูมิประเทศ กิจกรรมการใช้ที่ดินความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ ปริมาณน้ำเสียและแนวทางการบำบัดน้ำเสีย ผลการศึกษาพบว่าลักษณะภูมิประเทศในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำ แม่กลอง พื้นที่มีความลาดชันต่ำโดยทิศทางการไหลของน้ำผิวดินจะไหลจากทางด้านทิศตะวันตกของเทศบาลเมืองราชบุรีบริเวณเขาแก่นจันทร์ไปยังแม่น้ำแม่กลองซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ การใช้ที่ดินของชุมชนเมืองราชบุรีจะกระจุกตัวอยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองทั้งย่านพาณิชยกรรมและย่านพักอาศัยย่านอุตสาหกรรมประเภทโรงงานเครื่องปั้นดินเผาจะอยู่ที่บริเวณถนนเพชรเกษมสายเก่า ถนนศรีสุริยวงศ์และ ถนนเจดีย์หัก ส่วนย่านสถาบันราชการจะรวมกันอยู่เป็นศูนย์ราชการบริเวณถนนสมบูรณ์กุล การขยายตัวของชุมชนเมืองราชบุรีจะขยายไปตามแนวถนนมีศูนย์กลางความหนาแน่นอยู่ที่ย่านพาณิชยกรรมใจกลางเมือง ส่วนที่ขยายออกไปส่วนใหญ่เป็นประเภทพักอาศัยและอาคารพาณิชย์จากกิจกรรมในการใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภคของประชากรในชุมชนก่อให้เกิดน้ำเสียขึ้น การวางแผนควบคุมการใช้ที่ดินจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการกำหนดทิศทางเพื่อการจัดการน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ปี พ.ศ. 2562 เทศบาลเมืองราชบุรีจะมีปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้น 10,389 ลูกบาศก์เมตรต่อวันพื้นที่ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Aerated Lagoon จะใช้ทั้งสิ้น 23 ไร่และระบบบำบัดแบบ Activated Sludge จะใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 13 ไร่บริเวณก่อสร้างควรอยู่ทางด้านทิศใต้นอกเขตเทศบาลซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นที่ลุ่มต่ำง่ายต่อการรวบรวมน้ำเสียและค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ ดังนั้นแนวทางการจัดการน้ำเสียชุมชนในอนาคต จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนและควบคุมการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและระบบสาธารณูปโภคของเมืองส่งผลให้การจัดการน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดก่อเกิดประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนต่อไป
อ่านต่อ >>

มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถม ศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถม ศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วรรณวิทย์ รัตนสุทธิกุล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-148-4
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครู โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างจากแนว คิดตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 และพฤติกรรมการสอนของโคลและชาน (Cole and Chan) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearsons product - moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า1) การ ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและแต่ละรายด้านมีการปฏิบัติในระดับมาก ยกเว้นสองด้าน คือ ด้าน รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ และด้านปฏิบัติกิจกรรมทางวิชา การเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ที่มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรม การสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมและแต่ละรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของคุรุสภา พ.ศ. 2537 กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า มีความ สัมพันธ์กันในภาพรวมอยู่ในระดับสูง((+,g) = .758) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 นั่นคือ การปฏิบัติตามมาตรฐาน และพฤติกรรมการสอนดังกล่าวของครู ต่าง อธิบายซึ่งกันและกันได้ ((+,g)(2)) คิดเป็นร้อยละ 57.39
อ่านต่อ >>

การดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วิรัตน์ เอี่ยมสะอาด
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-099-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระดับและความแตกต่างของการ ดำเนินงานและความคาดหวังในการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของโรงเรียน ประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนที่ได้มาจากการสุ่มหลาย ขั้นตอน (multistage sampling) จำนวน 186 โรงเรียน ตามตารางประมาณการ ตัวอย่างของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน หรือครูวิชาการในกรณีที่ไม่มีผู้ช่วย ผู้บริหารโรงเรียน และครูปฏิบัติการสอน โรงเรียนละ 1 คน รวมเป็นโรงเรียนละ 3 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 558 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาครบทั้ง 186 โรงเรียน รวม 558 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานและความ คาดหวังในการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในโรงเรียนที่สร้างจากกรอบแนวคิด ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานด้านการประเมินผลภายใน โดยภาพรวมและเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความคาดหวังการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายใน โดยภาพรวมและเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. การดำเนินงานและความคาดหวังการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายใน ของโรงเรียน โดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความคาดหวังการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการ ดำเนินงานที่ปฏิบัติอยู่จริง
อ่านต่อ >>

ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
ชื่อนักศึกษา : คนึงรัตน์ คำมณี
สถาบัน : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : ส่งเสริมการเกษตร
ปี : 2545
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.lib.ku.ac.th/
บทคัดย่อ : วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของสมาชิกสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) 2) สภาพการเลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) 3) ความพึงพอใจขอ
อ่านต่อ >>

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบทจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบทจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กิริยา ลาภเจริญวงศ์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : รัฐศาสตร์
สาขา : ประชากรศาสตร์
ปี : 2543
ISBN : 974-13-0567-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ในเขตเมืองและเขตชนบทของจังหวัดราชบุรีรวมทั้งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40-59 ปี จำนวน 600 คน สุ่มเลือกจาก 3 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม โดยแยกเป็นเขตเมือง300 คน เขตชนบท 300 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลการศึกษาภาพรวม พบว่า สตรีตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ40-44 ปี สตรีจำนวนสามในสี่มีสถานภาพสมรสคู่ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีมากกว่าครึ่งของสตรีที่เป็นตัวอย่างสตรีในเขตเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจรายได้ครอบครัวเฉลี่ย 15,330 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้ 5,000 บาท และน้อยกว่าต่อเดือนสตรีจำนวนครึ่งหนึ่งยังคงมีประจำเดือน อายุเฉลี่ยเมื่อหมดประจำเดือน 48.9 ปีสตรีเกือบครึ่งยังไม่รู้จักคลินิกวัยทอง สตรีส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับกลางสตรีในเขตเมืองมีความรู้กี่ยวกับภาวะหมดระดูและมีการดูแลสุขภาพตนเองดีกว่า สตรีในเขตชนบท เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู พบว่า เขตที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดู แหล่งความรู้ที่สตรีได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู จำนวนแหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะหมดระดู และประเภทของสถานบริการ มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานขณะที่ตัวแปรด้านอายุไม่ เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ สตรีที่มีอายุมากกว่ามีการดูแลสุขภาพดีกว่าสตรีที่มีอายุน้อย ส่วนระดับปัญหาสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวเนื่องจากการหมดระดูไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวั ยหมดระดู
อ่านต่อ >>

การศึกษาผลการเรียนวิชา ท 204 ภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ที่เรียนโดยใช้วรรณกรรมในท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาผลการเรียนวิชา ท 204 ภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ที่เรียนโดยใช้วรรณกรรมในท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : รัชฎาภรณ์ คาวีรัตน์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : หลักสูตรและการสอน
ปี : 2544
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสามารถทางทักษะภาษาไทย (2) ความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมในท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี และ (3) ความคิด เห็นต่อบรรยากาศการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
อ่านต่อ >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กรรณิการ์ ชุติพงศ์ศาศวัต
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : การศึกษา
สาขา : สุขศึกษา
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://lib.swu.ac.th/data_thesis.php
บทคัดย่อ : ผลการศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็น เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกองค์การบริหาร ส่วนตำบล ประสบการณ์ ในการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประสบการณ์ในการเป็น อาสาสมัครสาธารณสุข ตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบล และความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน โรคเอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี จำนวน 321 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปัองกันโรคเอดส์ และแบบ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปัองกันโรคเอดส์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และวิเคราะห์ ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way analysis of variance) โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป เอส พี เอส เอส (SPSS:Statistical Package for the Social Science) ผลการศึกษา พบว่า 1. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การป้องกันโรคเอดส์ อยู่ในระดับดี 2. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ที่มี เพศ ระดับการศึกษา และความรู้เกี่ยวกับการปัองกันโรคเอดส์ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปัองกัน โรคเอดส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ที่มีอายุ อาชีพ ฐานะทาง เศรษฐกิจ ประสบการณ์ในการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประสบการณ์ในการเป็น อาสาสมัครสาธารณสุข และตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบลต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ แตกต่างกัน
อ่านต่อ >>

การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง (หน่อเขียว) ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปีการเพาะปลูก 2536/2537

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง (หน่อเขียว) ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปีการเพาะปลูก 2536/2537
ชื่อนักศึกษา : พรเฉลิม คุโณทัย
สถาบัน : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เศรษฐศาสตร์
สาขา : เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ปี : 2538
ISBN : 974-677-032-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.utcc.ac.th
บทคัดย่อ : หน่อไม้ฝรั่งเริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกอย่างจริงจังตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา เป็นพืชที่ทำรายได้ดี หน่อไม้ฝรั่งชนิดหน่อเขียวใช้บริโภคสด และส่งไปจำหน่ายยัง ต่างประเทศทั้งแบบสดและแบบแช่แข็ง วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการเพาะปลูก หน่อไม้ฝรั่งและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง โดยเน้น ศึกษาในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในปีแรก การทำสวนหน่อไม้ฝรั่งนั้น มีการลงทุนสูงเนื่องจากมีค่าพันธุ์เข้ามา เกี่ยวข้องและการเก็บผลผลิตยังเก็บได้ไม่เต็มที่ ต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด 25,682 บาทต่อไร่ ประกอบด้วยค่าแรงงานและค่าปุ๋ยเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ย 19,094 บาทต่อไร่ ในปีแรก เกษตรกรขาดทุนสุทธิ 6,588 บาทต่อไร่ แต่ถ้าคิดเฉพาะต้นทุนที่เป็นเงินสด เกษตรกรจะมี รายได้สุทธิ 5,364 บาทต่อไร่ ส่วนในปีที่ 2-3 มีต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด 23,811 บาทต่อไร่ ซึ่งประกอบด้วยค่า แรงงานและค่าปุ๋ยเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ย 41,841 บาทต่อไร่ ดังนั้นเกษตรกรมีรายได้ สุทธิ 18,030 บาทต่อไร่ ถ้าคิดเฉพาะต้นทุนที่เป็นเงินสดเกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 30,163 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้มากที่สุด โดยในปีแรกมีค่าความยืดหยุ่น 0.9033 คือถ้าเพิ่มมูลค่าปุ๋ยร้อยละ 1 จะทำให้รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9033 ส่วนในปีที่ 2 และ 3 มีค่าความยืดหยุ่น 0.5860 กล่าวคือถ้า เพิ่มมูลค่าปุ๋ยร้อยละ 1 จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5860 ดังนั้นเกษตรกรควรเพิ่ม ปริมาณการใช้ปุ๋ยให้มากขึ้น เพื่อทำให้รายได้สูงขึ้น
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่มีผลต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีกอง บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่มีผลต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีกอง บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : บุญส่ง ห้องแซง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศิลปศาสตร์
สาขา : รัฐศาสตร์
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.lib.ru.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความเห็นของเจ้าหน้าที่ ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดราชบุรีที่มีต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัย ภูมิหลังทางสังคมของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดในสังกัด กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรีที่มีต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 3) ศึกษาถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 4) ศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค และข้อขัดข้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการ ปราบปรามยาเสพติดในการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจ ปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดในกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี จำนวน 163 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบปราม ยาเสพติดในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี ที่มีต่อการสืบสวนผู้กระทำผิด ฐานจำหน่ายยาบ้าอยู่ในระดับสูง 2. ปัจจัยภูมิหลังทางสังคม คือ อายุ อายุราชการ ระดับชั้นยศ รายได้ วุฒิการศึกษา สถานภาพสมรส และการฝึกอบรมด้านยาเสพติดที่แตกต่างกัน ไม่มีผลกับ ความความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้าแตกต่างกัน 3. ปัจจัยภายในหน่วยงานในด้านสวัสดิการและเงินเดือน มีความสัมพันธ์ กับความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า ส่วนปัจจัยภายในหน่วย งานในด้านกำลังพล งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่มีความ สัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 4. ปัจจัยภายนอกหน่วยงานในด้านความร่วมมือของประชาชน มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านกฎหมายและข้อบังคับ ด้านกลุ่ม อิทธิพล ด้านการเสนอข่าวของสื่อมวลชน ด้านกระบวนการผลิตและจำหน่ายยาบ้า และด้านสายลับ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิด ฐานจำหน่ายยาบ้า
อ่านต่อ >>

แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วีรดา ชุลีกราน
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-084-4
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวิถีชีวิต ประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับวิถีชีวิตประชาธิปไตยของ นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบ แบบสอบถาม คือ โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา และ/หรือชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงชั้นประถมศึกษาปีที่หก สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี จำนวน 75 โรงเรียน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จัดกลุ่มสนทนา คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน 9 คน กลุ่มครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม ประชาธิปไตย 9 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษา และ 2) โครงสร้างประเด็นคำถามในการจัดกลุ่มสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. วิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. วิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของบุคคลสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายโรงเรียน ฝ่ายชุมชน และฝ่ายนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.1 ทั้งภาพรวมและรายด้าน 3. แนวทางพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้ ความสำคัญกับการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) บุคลากรทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 3) การพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตย ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง 4) ครูควรจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม 5) ครูต้องฝึกฝนให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และสามารถแก้ปัญหาบนพื้นฐานความถูกต้องและมีเหตุผลสนับสนุน 6) สถาน ศึกษาต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และ 7) ผู้บริหารสถาน ศึกษาควรยกย่องผู้ที่ปฏิบัติตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
อ่านต่อ >>

เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ปราโมทย์ รี้พล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-076-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและ กระบวนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว โดยมีโรงเรียนตัวอย่างจำนวน 186 โรงเรียนตามตารางของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เป็นโรงเรียน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนสีขาว 104 โรง และโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การ ประเมินโรงเรียนสีขาว 82 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละหกคนได้แก่ ผู้บริหาร โรงเรียน ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน ผู้แทนผู้นำชุมชน และ ผู้นำปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 1,116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 1 ฉบับ สร้างขึ้นจากแนวทาง ของแบบสอบถามการประเมินผลการดำเนินงานโครงการสีขาว กระทรวงศึกษาธิการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควส์ และการทดสอบหลัง ด้วยวิธีการของมาร์สกีโล (Marasquilo,s test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและการปฏิบัติของโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมและตัวแปรสภาพแวดล้อม และกระบวนการโรงเรียนส่วนใหญ่มีลักษณะ ใช่ และ ปฏิบัติ มากที่สุด เมื่อ พิจารณาจำแนกตามรายตัวแปรย่อย ตัวแปรสภาพแวดล้อม โรงเรียนมีสภาพในลักษณะ ใช่ จำนวนสามตัวแปร คือตัวแปรสภาพภูมิศาสตร์ นโยบายและแผน และกรอบการ ดำเนินงาน ตัวแปรกระบวนการ โรงเรียนส่วนใหญ่ ปฏิบัติ จำนวนห้าตัวแปร คือ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การวางแผนดำเนินการ การดำเนินงาน ตามแผน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการประเมินผล 2. ความแตกต่างในการปฏิบัติงานของโรงเรียนสีขาวที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน พบว่า ในภาพรวม ตัวแปรสภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวนมากกว่า เมื่อ พิจารณาในรายตัวแปรย่อย พบว่า สภาพแวดล้อม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวนมากกว่า การทดสอบหลังด้วยวิธีการของมาร์สกีโล (Marasquilos test) ในภาพรวม ตัวแปร สภาพแวดล้อม และตัวแปรย่อยสภาพเศรษฐกิจ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในข้อคำตอบ ใช่ และ ไม่ใช่และไม่ทราบ
อ่านต่อ >>

การประเมินการใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตตินในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การประเมินการใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตตินในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : พัทรียา โภคะกุล
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เภสัชศาสตร์
สาขา : เภสัชกรรมคลินิก
ปี : 2544
ISBN : 974-17-0000-8
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลในขณะผู้ป่วยได้รับการสั่งใช้ยามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ยากลุ่มสแตตินในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรีทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทำการศึกษาตั้งแต่ 1 กันยายน - 31 ธันวาคม 2544 โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการประเมินการใช้ยาโรงพยาบาลราชบุรี เกณฑ์การประเมินประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) ข้อบ่งใช้ (2) ข้อห้ามใช้(3) การติดตามการใช้ยา และ (4) ขนาดและวิธีการบริหารยา นอกจากนี้ยังศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และอันตรกิริยาของยาสแตตินกับยาอื่นที่สั่งใช้ร่วมกัน และดำเนินการแก้ไขเมื่อพบการสั่งใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์และ/หรือเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรือมีการสั่งใช้ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยา ผู้ป่วยที่ศึกษามี 247 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 58.30 เพศหญิงร้อยละ 41.70อายุเฉลี่ย 53.02 (+,ฑ)11.34 ปี ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่พบมากคือ อายุและความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 68.02 และ 46.15 ตามลำดับ) ผู้ป่วยส่วนใหญ่(ร้อยละ 70.44) ใช้สิทธิการรักษาโดยเบิกต้นสังกัด มีการใช้ยาสแตตินเพื่อการป้องกันแบบทุติยภูมิ (ร้อยละ 55.99) มากกว่าแบบปฐมภูมิ (ร้อยละ 44.01) ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการใช้ยาสแตตินมากที่สุด รองลงมาคือโรคหลอดเลือดหัวใจ (ร้อยละ 50.94 และ 25.16ตามลำดับ) มีการสั่งใช้ยาซิมวาสแตตินมากกว่ายาอะทอร์วาสแตติน (ร้อยละ 82.59 และ17.41 ตามลำดับ) การประเมินการสั่งใช้ยาพบว่าตรงตามเกณฑ์ทั้งหมดในผู้ป่วย 34 ราย (ร้อยละ 13.77)มีมูลค่าการใช้ยา 16,798 บาท มีการใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์อย่างน้อย 1 หัวข้อในผู้ป่วย196 ราย (ร้อยละ 79.35) มีมูลค่า 85,080 บาท และไม่สามารถสรุปได้ 17 ราย(ร้อยละ 6.88) มีมูลค่า 11,830 บาท การใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์ ข้อบ่งใช้ที่พบมากที่สุดคือ ไม่ได้ควบคุมอาหารก่อนเริ่มให้ยาเพื่อการป้องกันแบบปฐมภูมิ ร้อยละ 63.64 พบการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับซึ่งเป็นข้อห้ามใช้ของยากลุ่มสแตติน 7 ราย การติดตามการใช้ยาส่วนใหญ่ที่ไม่ตรงตรงเกณฑ์คือ ไม่มีการเจาะวัดระดับไขมันหลังเริ่มรักษาด้วยยา 4-8 สัปดาห์ ร้อยละ 57.09 รองลงมา คือ ไม่มีการแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารควบคู่กับการรักษาด้วยยา ร้อยละ 13.36 ไม่มีการสั่งรับประทานยาซิมวาสแตตินในตอนเย็นหรือก่อนนอนร้อยละ 63.73 ผู้ป่วยได้รับการสั่งใช้ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยากับยากลุ่มสแตตินร้อยละ 5.26 พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 4.17 แพทย์มีการเปลี่ยนแปลงการสั่งจ่ายยาตามคำแนะนำของเภสัชกรร้อยละ 66.86 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 33.14 จากผลการศึกษาจะเห็นว่ามีการใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์ค่อนข้างมาก จึงควรมีการประเมินการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลต่อไป
อ่านต่อ >>

การศึกษาสมการพยากรณ์การบริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสมการพยากรณ์การบริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : จิรวรรณ สันติภูมิโพธา
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
ปี : 2544
ISBN : 974-653-166-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการให้บริการชุมชนของ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี และศึกษา ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการชุมชน และศึกษาสมการที่ใช้ในการทำนาย การบริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 1ฉบับ แบ่งเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหารและโรงเรียน ตอนที่ 2 เป็นแบบวัด ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการให้บริการชุมชน ตอนที่ 3 สอบถามเรื่องการ ให้บริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถาม ปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ในการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พหุคูณ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) การให้บริการชุมชนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โรงเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ ปานกลาง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้และข่าวสาร ด้านการเมืองและการปกครอง ด้านสาธารณสุข ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณี ด้านอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพบว่าโรงเรียนมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับน้อยเพียงด้านเดียว คือด้านอาชีพ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สถานภาพของผู้บริหารและสภาพของโรงเรียนกับการให้บริการชุมชน พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความคิดเห็นของผู้บริหาร ที่มีต่อการให้บริการชุมชน (3) สมการพยากรณ์การให้บริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี Y(,รวม)=.186+.171X(,5)+.441X(,7)+.102X(,6) จากสมการพยากรณ์พบว่า ตัวแปรที่ ส่งผลต่อการให้บริการชุมชนโดยภาพรวม ได้แก่ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการให้บริการชุมชน และความร่วมมือของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการชุมชน คือ ขาดวัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ ขาดงบประมาณ ขาดบุคลากร
อ่านต่อ >>

ความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และความเครียดของครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และความเครียดของครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : นิศารัตน์ เอี่ยมชาญบรรจง
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : สุขภาพจิต
ปี : 2545
ISBN : 974-17-0851-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และระดับความเครียด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด472 คน ซึ่งเป็นครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียด และแบบสอบถามความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ สถิติไลลี่ฮู๊ด และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา 1. ครูมีความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 69.5, 71.0, 66.7 และ 72.7 ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตของครู คือ ความอบอุ่นในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. เจตคติเกี่ยวกับสุขภาพจิตของครู ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ศึกษา 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตของครูคือ อายุสถานภาพสมรส ความอบอุ่นในครอบครัว สังกัดที่ทำงาน และประสบการณ์ในการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของครูคือ ความอบอุ่นในครอบครัว ประวัติครอบครัวป่วยทางด้านจิตใจและอารมณ์ ความหนักใจกับปัญหาในที่ทำงาน และความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ส่วนปัจจัยด้านเจตคติและทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ
อ่านต่อ >>

ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการปรึกษาเรื่องยา ศึกษา เฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการปรึกษาเรื่องยา ศึกษา เฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อุไรศรี ศุภดิลกลักษณ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
สาขา : สื่อสารมวลชน
ปี : 2536
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่องความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการ ปรึกษาเรื่องยา ศึกษาเฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา ตลอดจนศึกษาถึง ความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้ป่วยนอกมีต่อความ น่าเชื่อถือของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัจจัยในตัว เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาและผู้ป่วยที่แตกต่างกัน การศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำ การวัดเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้ป่วยมาใช้บริการจาก ร.พ.ราชบุรี และได้รับคัดเลือกให้เข้ารับบริการปรึกษา เรื่องยา เฉพาะในวันและเวลาราชการ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามและสัมภาษณ์ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ Random Sampling ในผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และสามารถใช้ยา ได้ด้วยตนเอง จำนวน 168 ราย โดยให้ผู้ป่วย 24 รายรับ คำปรึกษาจากเภสัชกรแต่ละคน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 7 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ แสดงผลออกมาเป็นค่าร้อยละ ผลของ การทดสอบแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจำแนกทางเดียว (Analysis of Variance : F-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis : ) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ อายุราชการ ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา และการสวมเครื่องแบบของ เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษารวมทั้ง เพศ อายุ สถานภาพสมรสอาชีพ การเป็นสมาชิกสังกัดกลุ่มต่าง ๆ และภูมิลำเนาของผู้ป่วย ไม่ได้ทำให้ความน่าเชื่อถือที่มีต่อเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาและรายได้ของผู้ป่วย ทำให้ ความคิดเห็นของผู้ป่วย ที่มีต่อความน่าเชื่อถือของเภสัชกร ผู้ให้คำปรึกษาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.001 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า ความน่าเชื่อถือ โดยรวมของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ คือมากกว่า 80% ขึ้นไป ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อีกด้วย ข้อเสนอแนะด้านระเบียบวิธีวิจัย ควรทำการศึกษาใน โรงพยาบาลอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันเปรียบเทียบดูผลที่ได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ใช้ได้ทั่วไป ควรใช้กลุ่มตัวอย่าง ใหญ่ขึ้น และควรใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วย เพื่อวิเคราะห์คำพูดเนื้อหาของข่าวสารที่เภสัชกรผู้ให้ คำปรึกษาใช้สื่อสารกับผู้ป่วย สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกิด จากผู้ป่วยควรศึกษาจากเภสัชกรที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เพียงท่านเดียว ส่วนข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา เภสัชกรผู้ให้ คำปรึกษาพึงตระหนักถึง และส่งเสริมให้มีการสื่อสารสองทาง กับผู้ป่วยให้มากขึ้น เพื่อรับทราบปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ป่วย เภสัชกรผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาควรที่จะสามารถวิเคราะห์และ ประเมินสถานภาพของผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ และต้องพัฒนา ตนเองให้มีความรู้ในเรื่องของยาโรคและสาเหตุ วิธีการ ป้องกันโรค วิธีปฏิบัติตัวในขณะเจ็บป่วย รวมถึงวิธีการใช้ คำพูดอธิบายแก่ผู้ป่วยเพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการปรับ เนื้อหาสาระของข่าวสาร ที่จะทำการสื่อสารให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคลในเวลาที่จำกัด
อ่านต่อ >>

การศึกษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา : ศึกษา เฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา : ศึกษา เฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : สามารถ นิลวงศ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขา : สวัสดิการแรงงาน
ปี : 2534
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรม เครื่องเคลือบดินเผาศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างงานทั้งในลักษณะการจ้างงานแบบแข่งขันและระ บบผูกขาด แล้วจึงได้นำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการจ้างงานใน อุตสาหกรรมนี้กับการขาดแคลนคนงาน พร้อมทั้งผลกระทบของระบบการจ้างที่ มีต่อการใช้เทคโนโลยี วิธีการศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำงานใน กิจการเครื่องเคลือบดินเผาที่ลาออกจากงานไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทำให้ได้ ข้อมูลเบื้องต้นเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์นายจ้าง ลูกจ้างเพื่อให้ได้คำตอบที่ ตรงกันความต้องการ อันเป็นการลดปัญหาและประหยัดเวลาในการเก็บรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นนายจ้าง 22 คน หรือ ร้อยละ 45.0 ของนายจ้างทั้งหมด และลูกจ้างจำแนกตามลักษณะงาน 7 ประเภท จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 ของลูกจ้างทั้งหมด การสัมภาษณ์นายจ้างสัมภาษณ์จากบริเวณสถานประกอบการและ สถานที่พบ ส่วนลูกจ้างสัมภาษณ์ขณะที่ทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์และนัด หมายเพื่อสัมภาษณ์ต่อที่พักหรือร้านค้าปลีกในหมู่บ้านที่เป็นที่พักอาศัย อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาในจังหวัดราชบุรีต่อเนื่องกัน มานานกว่า 50 ปี คือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 49 แห่ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีบิดามารดาเป็นเจ้าของกิจการที่เคยเป็นช่างปั้นมา ก่อน ปัจจุบันการจ้างงานในกิจการสมัยใหม่ได้แข่งขันกันในด้านการบริหาร งานบุคคล แต่ในกิจการการผลิตเครื่องเคลือบดินเผายังคงใช้ระบบการจ้าง งานที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แรงงานทุกประเภทโดยเฉพาะช่างฝีมือเพราะไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือ การผลิตสมัยใหม่ได้ประกอบกับได้มีกิจการตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาการขาด แคลนแรงงานจึงได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นมีการซื้อตัวลูกจ้างด้วยราคาสูง นายจ้างได้ตระหนักในปัญหานี้ดีและได้หาทางแก้ไขด้วยการรวมรวมตัวกันเป็น สมาคม เพื่อกำหนดราคาค่าจ้าง และให้สมาชิกทุกรายถือปฏิบัติในลักษณะของ การผูกขาดการจ้าง (CARTEL) แต่วิธีการนี้ไม่ได้ผลเพราะสมาชิกยังคงได้ ใช้วิธีการแย่งกันซื้อตัวลูกจ้างอยู่ นอกจากนี้สมาคมยังได้กำหนดราคาการ จำหน่วยผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการขาดตัดราคาให้สมาชิกรายถือปฏิบัติด้วย ลูกจ้างในกิจการการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่เป็นขาย มีร้อยละ 78.0 และสมรสแล้วร้อยละ 91.0 ร้อยละ 75.0 มีสมาชิกในครอบครัวร่วม ทำงานในสถานประกอบการเดียวกันมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงานถึงร้อยละ 79.0 และลูกจ้างเกือบทั้งหมดคือร้อยละ 92.0 มีหนี้สินที่เกิดจากการซื้อตัว ของนายจ้างเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 ถึงเกินกว่า 50,000 บาท ในเรื่องสภาพการจ้างนายจ้างไม่ได้กำหนดระเบียบข้อบังคับในการทำ งานไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ปฏิบัติติดต่อกันมานับตั้งแต่มีการตั้งโรงงาน การทำงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่จะหยุดงาน 1 วัน เมื่อทำงานแล้ว 15-16 วัน ส่วนวันหยุดตามประเพณีลูกจ้างจะหยุดงานตามความจำเป็น สำหรับค่าจ้าง ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน รายเดือน และราย เหมาตามชิ้นงานลูกจ้างเกือบทุกประเภทที่เป็นช่าง คือ ช่างปั้น ช่างติดลาย ช่างตีโอ่ง คนงานนวดดิน จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเหมาตามชิ้นงาน ช่างเตา และช่างติดลายพิเศษได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนโดยช่างเตาจะได้รับค่าจ้าง เพิ่ม ในการเผาแต่ละเตา ลูกจ้างเผาแต่ละเตา ลูกจ้างรายวันได้ แก่กรรมกรทั่วไป การกำหนดค่าจ้างเหมาตามชิ้นงาน สมาคมเป็นผู้กำหนดให้ นายจ้างทุกรายถือปฏิบัติ มีการปรับขึ้นค่าจ้างตามการปรับราคาขายส่ง และ การประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนค่าจ้างรายเดือนและรายวันนายจ้าง แต่ละรายเป็นผู้กำหนด นายจ้างจะซื้อตัวลูกจ้างที่เป็นช่างฝีมือ เพราะมีช่างฝีมือจำกัดไม่พอ เพียงกับความต้องการ ผู้ที่เป็นช่างไม่มีเวลาฝึกสอนผู้ที่ต้องการเป็นช่างเพราะ ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ได้ปริมาณงานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างปั้น โอ่งซึ่งเป็นคนงานที่มีความสำคัญที่สุด ซึ่งต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกมือด้วยการฝึก หัดช่างจึงใช้วิธีการ ครูพักลักจำ ลูกจ้างยังไม่ได้รับสิทธิขั้นต่ำที่จำเป็นตามกฎหมายมีสภาพแวดล้อมใน งานที่การทำงานที่ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย ดังนั้นผู้ที่อยู่ในวัยที่จะเข้าสู่ ตลาดแรงงาน จึงเลือกที่จะไปทำงานในสถานประกอบการที่มีสภาพการจ้างดี กว่า ซึ่งปัจจุบันกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ปัญหาการขาดแคลน ลูกจ้างทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนคนงานที่นายจ้างใช้วิธีการซื้อตัวและให้ ลูกจ้างรับสภาพหนี้แทนที่จะปรับปรุงสภาพการจ้างให้ถูกต้อง จึงเป็นการขมวด ปมปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคือเจ้าหน้า ที่ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปแนะนำชี้แจงนายจ้างให้เปลี่ยนทัศนคติใน การจ้างงานของนายจ้างให้เป็นรูปธรรม หาไม่แล้วจะเกิดปัญหาการขาด แคลนคนงานจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ โอ่งมังกรที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีและการดำรงชีวิตแบบไทย ๆ ต้องสูญเสียไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
อ่านต่อ >>

พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อนันต์ สุริยาศรีสกุล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรง เรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงและต่ำ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนสูงและต่ำกลุ่มละ 89 โรงเรียน รวม 178 โรงเรียน ผู้ให้ ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียน รวม ทั้งสิ้น 534 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหาร งานวิชาการตามขอบข่ายงานวิชาการของกรมวิชาการในการประเมินโรงเรียนเพื่อรับ รางวัลพระราชทาน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงอยู่ในระดับดี 2) พฤติ กรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนต่ำ อยู่ในระดับปานกลาง 3) พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงและ ต่ำ มีพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการทั้งเก้าด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และครูผู้สอน ไม่แตกต่างกัน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
อ่านต่อ >>

การศึกษาสภาพการเลี้ยงสุกรและสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรลูกผสมสองสายเลือด ในจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสภาพการเลี้ยงสุกรและสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรลูกผสมสองสายเลือด ในจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ระพีพร แพงไพรี
สถาบัน : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : สัตวศาสตร์
ปี : 2545
ISBN : 974-367-799-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://lib09.kku.ac.th/web/
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานของผู้เลี้ยงสุกร สภาพภาพการเลี้ยงสุกร ปัญหาการเลี้ยงสุกร และ สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของสุกรลูก ผสมสองสายเลือดในฟาร์มขนาดย่อมและฟาร์มขนาดใหญ่ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้แบบ สัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้บริการของธนาคารออมสิน "กรณีศึกษาจากกรุงเทพมหานครและราชบุรี"

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้บริการของธนาคารออมสิน "กรณีศึกษาจากกรุงเทพมหานครและราชบุรี"
ชื่อนักศึกษา : จารุนันท์ ชีวีวัฒน์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เศรษฐศาสตร์
สาขา : เศรษฐศาสตร์
ปี : 2537
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://laic.dpu.ac.th/index.php?page=index_thesis
บทคัดย่อ : ศึกษาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคาร ออมสิน โดยใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแบ่ง เท่า ๆ กัน ระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดราชบุรี ซึ่ง เป็นการศึกษาอย่างกว้าง ๆ ครอบคลุมไปถึงบุคคลอาชีพต่าง ๆ วิธีการคัดเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง โดยที่ประชาชนทุกคนที่ไปใช้บริการของธนาคารมีโอกาสถูก เลือกเท่า ๆ กัน โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ออกเป็นจังหวัดละ 200 ตัวอย่าง โดยสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ 100 ตัวอย่าง ธนาคารออมสิน 100 ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ ได้นั้นเป็นข้อมูลจากภาคสนามทั้งสิ้น ผลที่ได้สามารถยืนยัน สมมติฐานที่ว่า ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมักนิยมใช้บริการ กับธนาคารออมสินมากกว่าธนาคารพาณิชย์ ส่วนผู้มีรายได้สูง มักจะนิยมใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าธนาคาร ออมสิน เมื่อพิจารณากลุ่มประชาชนซึ่งมีรายได้ในระดับเดียว กันในจังหวัดราชบุรีนั้นนิยมใช้บริการกับธนาคารออมสิน มากกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานคร และผู้ใช้บริการกับ ธนาคารออมสินโดยไม่ใช้ธนาคารพาณิชย์นั้นจะอยู่ในกลุ่ม ของผู้ที่ไม่มีรายได้ถึงมีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือน และจะอยู่ในกลุ่มอาชีพนักเรียนนักศึกษาและ แม่บ้าน เหตุผลสำคัญในการฝากเงินกับธนาคารออมสินก็คือ การที่ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินของรัฐโดยมีรัฐบาล เป็นประกันจึงปราศจากความเสี่ยงใด ๆ โดยทั่ว ๆ ไป ในการเลือกฝากเงินของประชาชนนั้นประชาชนจะให้ความ สนใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับจากเงินฝากนั้น โดยคำนึงถึง ความเสี่ยงด้วย และ TRANSACTION COST จากการได้รับ การบริการซึ่งสามารถลดได้ คือ การมีระบบฝากถอนเงินด่วน (ATM),มีสถานที่สะดวกและประสิทธิภาพในการบริการที่ดี จากพนักงาน ส่วนประชาชนที่ใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์โดย ไม่ใช้ธนาคารออมสิน ชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา ดอกเบี้ยจากเงินฝากที่สูงกว่านั่นเอง ผู้เขียนพบว่ามี ประชาชนอีกกลุ่มซึ่งใช้บริการทั้งธนาคารออมสินและธนาคาร พาณิชย์ร่วมกัน กลุ่มคนพวกนี้เป็นผู้ไม่ชอบความเสี่ยง แต่ จะคำนึงถึงผลตอบแทนจากการกระจายความเสี่ยง จึงกระจาย ความเสี่ยงโดยถือเงินฝากทั้งธนาคารออมสินและธนาคาร พาณิชย์ โดยคำนึงว่าผลตอบแทนสูงย่อมได้รับความเสี่ยง สูงตามไปด้วย
อ่านต่อ >>

ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านจากกรมอนามัย กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลระดับชั้น 3ฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านจากกรมอนามัย กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลระดับชั้น 3, 4 และ 5 จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ปิยะพงศ์ ด้วงเฮี้ยม
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท
ปี : 2545
ISBN : 974-04-2699-9
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การศึกษาศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงาน บริหารระบบประปาหมู่บ้านจากกรมอนามัย เป็นการศึกษาเพียงส่วนหนึ่งของแผนงานกระจาย อำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นตามนโยบายการกระจายอำนาจที่ประสบปัญหา การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปาหมู่บ้านจากกรมอนามัย รวมทั้งทราบถึง ปัจจัยที่ส่งผลให้ อบต.มีศักยภาพฯ ศึกษาจากกลุ่มศึกษาจำนวน 340 ราย เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการจำแนกพหุด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษามีศักยภาพในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านระดับปานกลาง ปัจจัยบุคคลด้านการศึกษาและรายได้มีผลต่อระดับศักยภาพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านการศึกษามีผลต่อปัจจัยด้าน ความรู้ โดยที่ปัจจัยด้านความรู้เป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพฯ จากการวิเคราะห์แบบ จำแนกพหุพบว่า เพศชาย, การมีการศึกษาสูง, มีรายได้สูง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ศักยภาพฯ โดยเพศชายมีศักยภาพฯ สูงกว่าเพศหญิง การมีการศึกษาระดับที่สูงทำให้ เกิดศักยภาพฯ สูงกว่าการมีการศึกษาระดับต่ำ รายได้ที่สูงกว่าก่อให้เกิดศักยภาพฯ ที่สูงกว่ารายได้ต่ำ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีศักยภาพฯ สูงคือผู้ที่มี การศึกษาสูง ควรให้การพัฒนาความรู้แก่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบลด้วยกันควรคัดเลือกผู้มีการศึกษาที่ดีเข้าเป็นผู้บริหารองค์กร ต่อไป ควรมีการศึกษาองค์กรที่ได้รับการถ่ายโอนงาน
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วิรัช ตันตระกูล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2542
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรม การบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของ ผู้บริหารโรงเรียน (2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการบริหารงาน วิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์ มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ โรงเรียนและครูผู้สอนจากโรงเรียนกลุ่มระดับคุณภาพสูง 103 โรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำ 103 โรงเรียน รวม 618 คน เครื่องมือที่ ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ((-,x)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ ค่าถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS/PC(+) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ระดับพฤติกรรมการบริหารงาน วิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหาร โรงเรียนกลุ่มระดับคุณภาพสูงค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนโรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำค่าเฉลี่ยอยู่ในระัดบปานกลาง (2) ผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษากลุ่มระดับคุณภาพสูงกับโรงเรียนกลุ่มระดับ คุณภาพต่ำ มีพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการแต่ละมาตรฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาพรวม พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ 4 มาตรฐาน แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน ตามลำดับจากมากไปหาน้อยกลุ่มโรงเรียน ระดับคุณภาพสูง ปัจจัยภายใน ได้แก่ ห้องสื่อการเรียน, อายุของ ครูวิชาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.), ครูวิชาการเพศชาย, วัสดุครุภัณฑ์, อายุราชการ ณ โรงเรียนปัจจุบันของครูวิชาการโรงเรียน, ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบาย สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ (สปอ.), อายุเฉลี่ย ของผู้ปกครองนักเรียน, อาชีพของผู้ปกครองนักเรียน, ส่วนโรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำ ปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุของครูผู้สอน, อายุ ราชการของผู้บริหารโรงเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทักษะ (คณิตศาสตร์), วุฒิการศึกษาของครูผู้สอน, ห้องสมุดโรงเรียน, ตำแหน่งของครูวิชาการโรงเรียน, ห้องกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ, จำนวนนักเรียนหญิง, ห้องกิจกรรมสหกรณ์, จำนวนครูเพศชาย, ผู้บริหารโรงเรียนเพศหญิง, ปัจจัยภายนอก ได้แก่ รายได้ต่อเดือน โดยเฉลี่ยของผู้ปกครองนักเรียน
อ่านต่อ >>

การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2543

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2543
ชื่อนักศึกษา : บุญรัตน์ สมคเณ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
ปี : 2544
ISBN : 974-653-046-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลโครงการ ฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้ เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ จำนวน 2 คน วิทยากร จำนวน 47 คน ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ แบบทดสอบ และแบบบันทึกการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้รูปแบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP MODEL) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโดยประเมินความสอดคล้องระหว่าง นโยบายกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้รับ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง และความสอดคล้องระหว่าง วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้น ความรู้ชั้นสูงกับ ความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยประเมินความพร้อม และความเหมาะสมของ หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร ระยะเวลาที่ใช้ใน การฝึกอบรม สภาพความพร้อมของอุปกรณ์การฝึกอบรม สถานที่ฝึกอบรม งบประมาณ ด้านกระบวนการฝึกอบรม โดยประเมินกิจกรรมการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล ด้านผลสัมฤทธิ์ โดยประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรมด้านความรู้ ทักษะ และการนำไปใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการค่อนข้างมาก คือสามารถนำความรู้ไปใช้ ฝึกอบรมต่อไปได้ และวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมสนองต่อความต้องการ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลในการนำไปใช้ฝึกอบรมต่อไปได้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ว่าส่วนประกอบต่างๆ ที่สนับสนุนในการดำเนินการฝึกอบรม ได้แก่ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สภาพความพร้อม ของอุปกรณ์การฝึกอบรม งบประมาณ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม คือผู้บริหารโครงการ วิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ยกเว้น สถานที่ฝึกอบรม มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมาก ด้านกระบวนการ สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความเห็นว่า กระบวนการฝึกอบรม มีความเหมาะสมระดับมาก ยกเว้นการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้และทักษะ อยู่ในระดับดี ส่วนด้านการนำความรู้ไปใช้ สรุปได้ว่ามีการนำความรู้ไปใช้ในการอบรมอยู่ในระดับดี
อ่านต่อ >>

ชีวิต พิธีกรรมและเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทย กรณีศึกษาในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ชีวิต พิธีกรรมและเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทย กรณีศึกษาในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อะระโท โอชิมา
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สาขา : มนุษยวิทยา
ปี : 2535
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาเรื่องชีวิต พิธีกรรมและเอกลักษณ์ทาง ชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทย กรณีศึกษาในเขตอำเภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาการ ธำรงชาติพันธุ์มอญ โดยพิจารณาการแสดงออกและการเรียนรู้ เอกลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ และพรมแดนชาติพันธุ์มอญในชีวิต ประจำวันและพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนมอญ เพื่อที่จะศึกษาให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้เขียนจึงตั้งใจมองความสัมพันธ์ ระหว่างการธำรงชาติพันธุ์ (ethnicity) กับพิธีกรรม โดยใช้ ทฤษฎีการธำรงชาติพันธุ์และทฤษฎีการวิเคราะห์พิธีกรรม ซึ่งผู้เขียนพบว่า เพื่อที่จะให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถธำรงอยู่ได้ จำเป็นต้องมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ กลุ่ม (group) ประวัติ (history) และเอกลักษณ์ (identity) ในขณะเดียวกันพิธีกรรมก็มีความสำคัญต่อการที่บุคคลมารวมกัน เป็นกลุ่ม มีความสำคัญต่อการทำให้อดีตปรากฎขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งพิธีกรรมยังมีความสำคัญต่อการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมพิธีกรรม ดังนั้นผู้เขียนจึงตั้งใจศึกษา โดยการวิเคราะห์พิธีกรรมต่าง ๆ ของคนมอญในชุมชนบ้านมน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งผู้เขียน จะวิเคราะห์พิธีกรรมต่าง ๆ โดยการมองปัจจัยสำคัญ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น จากการวิเคราะห์ชีวิตประจำวันและพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนมอญแล้ว ผู้เขียนพบว่าคนมอญในชุมชนบ้านมนมี เอกลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนกันอยู่ 2 ระดับ คือ ในระดับ ที่เป็นคนไทยและในระดับที่เป็นคนมอญควบคู่กันไป ซึ่งการที่ คนมอญในชุมชนบ้านมนมีเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งที่เป็นคนไทยนั้น ไม่ใช่ว่ามีเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยแต่มีเอกลักษณ์ส่วนหนึ่ง ของสังคมไทยหรือประเทศไทยซึ่งหลายชาติพันธุ์ซับซ้อน อยู่ในระดับที่เป็นคนไทย คนมอญในชุมชนบ้านมนแบ่งใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของชาติพันธุ์มอญ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และกาลเทศะ เช่น การแต่งกาย และการใช้ภาษา เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เขียนยังพบอีกว่า สิ่งสำคัญที่จะนิยามความเป็น คนมอญในชุมชนบ้านมน คือ เชื้อสายของคนมอญโดยเฉพาะ สายเลือดทางผู้ขาย และพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การนับถือขะหลกหั่ย เช่น พิธีเลี้ยงผี และพิธีรำผีนั่น เป็นกลไกสำคัญที่จะธำรงเอกลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ โดยการ สืบต่อทางสายเลือด และสืบต่อประวัติของชาติพันธุ์มอญ อีกนัยหนึ่งพิธีกรรมทางด้านพุทธศาสนาบางพิธีกรรม เช่น การทำบุญร่วมกันทั้ง 9 วัด ในวันเข้าพรรษาและ วันออกพรรษาและพิธีเทศน์มหาชาติ เป็นต้นนั้น ได้รวบรวม กลุ่มชาติพันธุ์มอญกลุ่มย่อย ๆ เข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้มี กลุ่มชาติพันธุ์มอญกลุ่มใหญ่ หรือขอบเขตวัฒนธรรมมอญ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการธำรงวัฒนธรรมและจารีตประเพณี ของชาติพันธุ์มอญ ในขณะเดียวกัน ตำราต่าง ๆ ของ คนมอญก็มีหน้าที่สำคัญต่อการธำรงเอกลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ โดยการสืบต่อประวัติและพิธีกรรมของคนมอญ และโดย การแสดงให้เห็นกฎและแบบอย่างการดำเนินชีวิตของคนมอญ
อ่านต่อ >>

องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ชูชาติ ประสูตร์แสงจันทร์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-164-6
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับองค์ประกอบและวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี (2) องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรีจำนวน 14 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร และครูผู้สอนใน โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 290 คน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ (1) องค์ประกอบด้านคุณลักษณะและ พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก และ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน (2) องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรีโดยรวม คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ การมีศิลปะในการทำงาน ความสามารถในการประเมินผลการทำงานร่วม กับผู้อื่น และความรับผิดชอบ และด้านสถานภาพ ตัวแปรย่อยได้แก่ ประสบการณ์ในการ ทำงาน 6-10 ปี เมื่อพิจารณาวิสัยทัศน์รายด้าน พบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการ สร้างวิสัยทัศน์ คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ การมุ่งความสำเร็จ การมี ศิลปะในการทำงาน ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และด้านสถานภาพ ตัวแปรย่อยได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี ส่วนองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเผยแพร่วิสัยทัศน์ คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ ความสามารถในการประเมินผล ความรับผิดชอบ การมีศิลปะในการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และด้านสถานภาพ ตัวแปรย่อยได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี และองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ การมีศิลปะในการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสามารถในการประเมินผล
อ่านต่อ >>

การพัฒนาสื่อการสอนฟังเสริม รายวิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 019 ด้วยวิธีการเรียน รู้แบบพึ่งพาตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสิทธิ์ฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนาสื่อการสอนฟังเสริม รายวิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 019 ด้วยวิธีการเรียน รู้แบบพึ่งพาตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ชื่อนักศึกษา : ประสิทธิ์ สรรสม
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
ปี : 2544
ISBN : 974-653-379-7
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนฟังเสริม รายการ วิชาภาษาอังกฤษ อ 019 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเพื่อเปรียบ เทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกทักษะ การฟัง เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณสมบัติของสื่อการสอน ที่สร้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ สื่อการสอนฟัง เสริมรายวิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 019 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 8 บทเรียน แบบ ทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง และแบบประเมินความ คิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณสมบัติของสื่อการสอนฟัง ทั้ง 8 บทเรียน การทดลองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 คาบเรียน ๆ ละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบ ก่อนการทดลองใช้สื่อการสอนผู้วิจัยได้ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบวัดความ สามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อประเมินความสามารถในการฟัง ผู้วิจัยทดสอบนัก เรียนด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษฉบับเดียวกับหลังก่อนการใช้ สื่อการสอน นักเรียนประเมินสื่อการสอนฟังเสริมฯ ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียนที่มีต่อคุณสมบัติของสื่อการสอนแต่ละบท จนครบทั้ง 8 บทเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ใช้ t-test แบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการ ฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการฝึกฟัง ใช้ค่าสถิติพื้น ฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนฟังเสริมฯ ที่สร้าง และวิเคราะห์ระดับความต้องการของนักเรียนในด้านเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของสื่อการสอน ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง ที่ผู้ วิจัยสร้างขึ้นมามีค่า 84/78 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี 2. ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการฝึกฟังโดยใช้สื่อที่ สร้าง สูงกว่าก่อนการฝึกฟังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3. นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อสื่อการสอนฟังเสริมฯ ทั้ง 8 บท ที่ผู้ วิจัยสร้างขึ้น
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์และภาวะสุขภาพของมารดาและทารกแรกเกิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์และภาวะสุขภาพของมารดาและทารกแรกเกิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : เกษณี โคกตาทอง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศิลปศาสตร์
สาขา : ประชากรศึกษา
ปี : 2545
ISBN : 974-04-1694-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการ ฝากครรภ์ครบหรือไม่ครบตามเกณฑ์กับปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความรู้ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ สุขนิสัยขณะตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แรงสนับสนุนทางสังคมของสามีและความคาดหวังต่อบุตร การวิเคราะห์ ข้อมูล วิเคราะห์ Chi-square และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มมารดาอายุ (+,ณ) 20 ปี มีโอกาสมาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ เป็น 3.18 เท่าของมารดาอายุ
อ่านต่อ >>

ความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กานดา วาสะสิริ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : สิ่งแวดล้อมศึกษา
ปี : 2545
ISBN : 974-04-1900-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาการทำงาน ระดับการศึกษา การรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบ สอบถามกับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 148 ราย และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 7 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ รวมทั้งใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาประกอบ ผลการศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับต่ำ มีเจตคติในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับที่เห็นด้วยและมีบทบาทในการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติ และบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นอยู่ กับประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และบทบาทในการ จัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับบทบาทในเชิงลบ แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติ และเจตคติไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาท ในส่วนของปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้จากการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่าปัญหาเกิดจากองค์การบริหาร ส่วนตำบลยังขาดงบประมาณและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจึงควรเสนอให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้น หรือควรขอความช่วยเหลือและร่วมมือจากหน่วยงานอื่น และควรจัดอบรมในเรื่องของบทบาท อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แก่สมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลเพิ่มมากขึ้น
อ่านต่อ >>

ความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : พนิดา ทีตี้
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-158-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทราบระดับความพร้อมของบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 :ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี และเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครู และตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับความพร้อม ของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี จำนวน 188 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและ ครู และตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 752 คน และตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือโรงเรียนประถมศึกษาจำนวนสามอำเภอ อำเภอละ สองโรงเรียน คือ โรงเรียนที่อยู่ในเมืองและโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง จำนวนหก โรงเรียน โรงเรียนละสี่คน โดยผู้ให้สัมภาษณ์ คือ บุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู ตัวแทนชุมชน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (questionnaire) เกี่ยวกับความ พร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (non - structural interview) โดยสอบถามและสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาทั้งสองกลุ่ม คือ บุคลากรในสถานศึกษาและตัวแทนชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่(f), ค่าร้อยละ(%), ค่าเฉลี่ย((-,X)), ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การวิเคราะห์แบบไคว-สแควร์((+,c)(2)-test), การทดสอบ มาร์สคีโล (Marascuilos test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหาร การศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความพร้อมระดับมาก 2. ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู และ ตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 : ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี มีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ด้านการยอมรับ และด้านการมี ส่วนร่วม
อ่านต่อ >>

การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร ประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : เรืองลักษณ์ ทิพย์ทอง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขา : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ปี : 2541
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร ประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อม ของคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการ จัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ความพร้อมด้านทัศนคติ ที่มีต่อโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวใน ชุมชน และเพื่อศึกษาการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และ สถาบันอื่น ๆ ในชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสังเกต ประชากรในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้าน จากศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน 14 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละตำบล ในพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษา ความพร้อมด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว พบว่า คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้านส่วนใหญ่มีความรู้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับการติดต่อและการป้องกันโรค แต่มีความรู้ น้อยเกี่ยวกับอาการและการรักษา และไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวมาก่อน ความพร้อมด้านทัศนคติที่มีต่อโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว พบว่า คณะกรรมการศูนย์ฯ ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อโรคเอดส์และผู้ป่วยโรคเอดส์ และเห็นด้วยกับนโยบายส่งเสริมให้ ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ในชุมชน การ สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และ สถาบันอื่น ๆ ในชุมชน ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐ พบว่า ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ทั้ง 14 แห่ง ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโป่ง และสำนักงาน ประชาสงเคราะห์จังหวัดราชบุรี ในด้านคำปรึกษาแนะนำ งบประมาณ และการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการศูนย์ฯ คิดว่าการสนับสนุนที่ได้รับยังไม่ เพียงพอ ต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานความรู้เกี่ยวกับ การจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพของผู้ป่วยโรคเอดส์ ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่ให้บริการด้านโรคเอดส์ และการศกึษา ดูงาน การสนับสนุนด้านงบประมาณ เอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านโรคเอดส์ อุปกรณ์ทำแผล และ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย ควรมีแผนงาน โครงการ ที่ชัดเจน ในการพัฒนาศักยภาพของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน จัดสรรงบประมาณในการ ดำเนินงานตามแผนงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการแผนงานร่วมกัน เพื่อให้ เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ระดับปฏิบัติการควรเตรียมความพร้อมด้าน การดำเนินงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่คณะกรรมการศูนย์ฯ โดยจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านการจัด บริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว จัดให้มีการศึกษาดูงานขององค์กร ชุมชนที่มีการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการทำงาน จัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่คน ทุกกลุ่มในชุมชนอย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย โรคเอดส์ เพื่อช่วยให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ และช่วยให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ กล้าที่จะเปิดเผยตัวต่อสังคม ซึ่งจะช่วยลดปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของศูนย์ฯ ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน หรือองค์กรในระดับท้องถิ่น ควร ร่วมมือกันในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ เพราะจะทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ใน ชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ อบต.ควรสนับสนุนในด้านงบประมาณแก่ศูนย์สงเคราะห์ ราษฎรประจำหมู่บ้าน ในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์
อ่านต่อ >>