การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืนในจังหวัดราชบุรี

ชื่อโครงการ : การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืนในจังหวัดราชบุรี 

Research and Development for Changing in Cultural Tourism toward Creative Economy through Participation Process of Sustainable Network Alliances in Ratchaburi Province

ชื่อผู้วิจัย 
  1. ผศ.ดร.นรินทร์ สังข์รักษา  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร 034-255254 
  2. ดร. สมชาย ลักขณานุรักษ์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปี 2554 

ระยะเวลาการทำวิจัย  12 เดือน ตั้งแต่ 6 กรกฎาคม 2554 -5 กรกฎาคม 2555 

****************************************


บทคัดย่อ 
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 
  1. ศึกษาการให้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  2. พัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้นแบบ 
  3. ศึกษาการเทียบเคียงชุมชนที่จัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว
  4. ศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืน 
  5. ศึกษาการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดราชบุรี 
การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน 
  • ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 
  • ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ 
  • ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ 
  • ขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์ระดับลึก และแนวทางการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสถิติคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 
ผลการวิจัย พบว่า 
  1. การให้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของนักท่องเที่ยวและผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก (=4.08 ,=4.16) ตามลำดับ
  2. การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้นแบบ ได้รูปแบบมีชื่อเรียกว่า “RATCHABURI  Model” ได้แก่
    1. R = Research (การวิจัยการท่องเที่ยว) 
    2. A= Action Learning (การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้) 
    3. T=Technology (การใช้เทคโนโลยี) 
    4. C= Community of Practice (ชุมชนนักปฏิบัติ) 
    5. H= Horizontal (องค์กรแนวราบและเครือข่าย) 
    6. A= Awareness (ความตระหนักรู้) 
    7. B=Best Practice (การปฏิบัติที่ดีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) 
    8. U=Universal (การท่องเที่ยวสู่สากล) 
    9. R=Response (ความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม) 
    10. I=Identity (การสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่น) 
  3. ผลการเทียบเคียงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ “บวร”บ้าน วัดโรงเรียนในการมีส่วนร่วม มีผู้นำเข้มแข็ง สมาชิกร่วมมือ โครงสร้างองค์กร เทคโนโลยี ความรู้ ทักษะ/ความสามารถ การจัดการ วัฒนธรรมองค์กร จิตอุทิศ และทุนชุมชน ส่วนปัจจัยความล้มเหลว ได้แก่ ความอิจฉา ความขัดแย้งกันของสมาชิกและชุมชน การขาดความร่วมมือ และผลประโยชน์
  4. แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการตั้งอยู่บนพื้นฐานเดิมของชุมชน ยึดหลักภูมิสังคม ผลประโยชน์ของชุมชน และความคุ้มค่ามากกว่าความคุ้มทุน 
  5. เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 4 รูปแบบคือ เส้นทางครึ่งวัน หนึ่งวันแบบไปเช้าเย็นกลับ (นิยมมากที่สุด) และแบบค้างคืน และแบบสองวันสองคืน กำหนดเส้นทางอู่อารยธรรมและไหว้พระ วิถีชีวิตชาติพันธุ์ตัวตนคนราชบุรี เริ่มจากวัดคงคารามจนสุดท้ายเมืองโบราณและจิปาถะภัณฑ์คูบัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น