A Lesson Learnt from Progressive Sufficiency Economic Activities on Integrated Learning Processes of Community Enterprises for Green and Happiness Society in Ratchaburi Province
ชื่อผู้วิจัย
ผศ.ดร.นรินทร์ สังข์รักษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร 034-255254
ผศ.ดร.นรินทร์ สังข์รักษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร 034-255254
ดร. ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร 034-255254
ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัย ประจำปี 2552
ระยะเวลาทำวิจัย 12 เดือน ตั้งแต่ 19 มิถุนายน 2552 -21 มิถุนายน 2553
******************************
บทคัดย่อ
ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัย ประจำปี 2552
ระยะเวลาทำวิจัย 12 เดือน ตั้งแต่ 19 มิถุนายน 2552 -21 มิถุนายน 2553
******************************
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ถอดบทเรียน การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
- วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชน
- ศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมหรือวิสาหกิจบริบาล (CSR) ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
- ศึกษาการปฏิบัติที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ากับเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
- ศึกษาความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิสาหกิจชุมชน
ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ร้อยละ 63.30 ดำเนินการ ระหว่าง ปี 2541-2550 ร้อยละ 61.80 มีขนาดของสินทรัพย์ ต่ำกว่า 3 แสนบาท ร้อยละ 55.00 ได้รับความรู้มาจากภายนอกท้องถิ่นมากที่สุด ร้อยละ 37.40 รองลงมาแสวงหาความรู้จากภายในและภายนอกท้องถิ่น ร้อยละ 35.50 แหล่งของความรู้ที่ได้รับมาจากการใช้หลายสื่อ ร้อยละ 55.70 มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 98.80 องค์ความรู้ในการนำมาประยุกต์ใช้ในระดับมาก ร้อยละ 43.60 มีการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน ในระดับมาก ร้อยละ 40.80 ผลที่เกิดจากการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก ร้อยละ 48.10 และบทเรียนที่ได้จากการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน ในระดับมาก ร้อยละ 48.10 พฤติกรรมการปฏิบัติในวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับมาก มีกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่ม/เครือข่าย จากการลงมือปฏิบัติจริง จากการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การขับเคลื่อนการเรียนรู้ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ และการประหยัด บทเรียนที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าในระดับมาก มีการสร้างและใช้ความรู้ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าของวิสาหกิจชุมชน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มีการออม การลดหนี้ และการลดรายจ่าย และมีศูนย์การเรียนรู้เป็นแหล่งให้ความรู้
การปฏิบัติที่ดี/เหมาะสมที่ถือเป็นผลสำเร็จในการประกอบการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าในระดับมาก มีวิธีการคิด กระบวนทัศน์ใหม่ มีการตั้งเป้าหมาย เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ การปฏิบัติตามแนวทางวิถีแห่งความพอเพียง ผลของการปฏิบัติที่ดีของวิสาหกิจชุมชน คือ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และมีความเข้มแข็งของกลุ่ม/เครือข่าย บทเรียนที่ได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาใช้ในวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก มีบทเรียนจากในอดีต และบทเรียนในปัจจุบัน ทั้งระดับบุคคล/ครอบครัว ชุมชน และสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาใช้ในวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก มีความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงาน (แรงงาน) ต่อกลุ่ม/เครือข่าย ต่อลูกค้า ต่อชุมชน ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาใช้ในวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก มีความอยู่เย็นเป็นสุข จากระดับบุคคลที่มีความสุข ความภาคภูมิใจ มีชีวิตที่มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความสุขจากครอบครัวอบอุ่น ความสุขจากชุมชนเข้มแข็ง ข้อค้นพบ การดำเนินวิสาหกิจชุมชนต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และรู้ลึกในสาขาที่ทำ ต้อง “รู้ สู้ ระวัง” และ“ 4 ม.” ได้แก่ 1) ไม่เสี่ยงมาก 2) ไม่ดิ้นรนมาก 3) ไม่มีหนี้สิน และ 4) มีความสุข มีการจัดการแบบค่อยเป็นค่อยไป บนพื้นฐานของบทเรียนที่ผ่านมา มีการปฏิบัติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม เน้นความซื่อสัตย์ ความสามัคคีของหมู่คณะและการออมเป็นสำคัญ
*************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น