เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ปราโมทย์ รี้พล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-076-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและ กระบวนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว โดยมีโรงเรียนตัวอย่างจำนวน 186 โรงเรียนตามตารางของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เป็นโรงเรียน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนสีขาว 104 โรง และโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การ ประเมินโรงเรียนสีขาว 82 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละหกคนได้แก่ ผู้บริหาร โรงเรียน ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน ผู้แทนผู้นำชุมชน และ ผู้นำปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 1,116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 1 ฉบับ สร้างขึ้นจากแนวทาง ของแบบสอบถามการประเมินผลการดำเนินงานโครงการสีขาว กระทรวงศึกษาธิการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควส์ และการทดสอบหลัง ด้วยวิธีการของมาร์สกีโล (Marasquilo,s test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและการปฏิบัติของโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมและตัวแปรสภาพแวดล้อม และกระบวนการโรงเรียนส่วนใหญ่มีลักษณะ ใช่ และ ปฏิบัติ มากที่สุด เมื่อ พิจารณาจำแนกตามรายตัวแปรย่อย ตัวแปรสภาพแวดล้อม โรงเรียนมีสภาพในลักษณะ ใช่ จำนวนสามตัวแปร คือตัวแปรสภาพภูมิศาสตร์ นโยบายและแผน และกรอบการ ดำเนินงาน ตัวแปรกระบวนการ โรงเรียนส่วนใหญ่ ปฏิบัติ จำนวนห้าตัวแปร คือ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การวางแผนดำเนินการ การดำเนินงาน ตามแผน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการประเมินผล 2. ความแตกต่างในการปฏิบัติงานของโรงเรียนสีขาวที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน พบว่า ในภาพรวม ตัวแปรสภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวนมากกว่า เมื่อ พิจารณาในรายตัวแปรย่อย พบว่า สภาพแวดล้อม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวนมากกว่า การทดสอบหลังด้วยวิธีการของมาร์สกีโล (Marasquilos test) ในภาพรวม ตัวแปร สภาพแวดล้อม และตัวแปรย่อยสภาพเศรษฐกิจ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในข้อคำตอบ ใช่ และ ไม่ใช่และไม่ทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น