การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : จินตนา ไพบูลย์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ครุศาสตร์
สาขา : การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ปี : 2543
ISBN : 974-346-377-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เยาวชนชายที่ฝึกวิชาชีพทั้ง 6 หน่วยวิชาชีพ ได้แก่ วิชาชีพช่างยนต์ วิชาชีพช่างตัดผม วิชาชีพช่างไม้ วิชาชีพช่างไฟฟ้า วิชาชีพศิลปหัตถกรรมวิชาชีพเกษตรกรรม จำนวนทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบประเมินทักษะวิชาชีพ ซึ่งได้รับกลับคืนมาอย่างละ 180 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่สัมพันธ์กับทักษะการฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ หลักสูตรวิชาชีพ(ศิลปหัตถกรรม) สาเหตุที่เลือกเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพในขณะนั้น(เลือกตามเพื่อน) ลักษณะการเรียนวิชาชีพ (เรียนปฏิบัติอย่างเดียว)
อ่านต่อ >>

การศึกษาความรู้พื้นฐานและการสอนปรับความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาความรู้พื้นฐานและการสอนปรับความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วาสนา เกิดปั้น
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : หลักสูตรและการสอน
ปี : 2544
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อระบุข้อบกพร่องในความรู้ พื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เริ่มเข้าเรียนใหม่ (2) เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนโดยการสอนปรับความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค101 ในภาคเรียนที่
อ่านต่อ >>

ภาวะโภชนาการของโฟเลตในสตรีปกติ สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มารับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ภาวะโภชนาการของโฟเลตในสตรีปกติ สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มารับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เภสัชศาสตร์
สาขา : อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
ปี : 2543
ISBN : 974-13-0786-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : โฟเลตเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเมตาบอลิซึมของร่างกายการขาดโฟเลตในสตรีอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์มีความต้องการโฟเลตมากขึ้นและสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องอาจมีระดับโฟเลตในร่างกายต่ำลงเกิดการขาดโฟเลตได้ การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงเพื่อประเมินภาวะโภชนาการของโฟเลตในสตรีปกติสตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มารับบริการตรวจรักษาสุขภาพที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรีโดยวิธีทางจุลชีววิทยา (Microbiological assay) โดยใช้เชื้อ~iLactobacillus casei~i, ATCC. No. 7469. พบว่าปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงของสตรีไม่ตั้งครรภ์ซึ่งไม่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจำนวน 38 คน เท่ากับ 12.29(+,ฑ)5.91 และ 123(+,ฑ)46.04นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในกลุ่มสตรี ไม่ตั้งครรภ์ซึ่งรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจำนวน 34 คน เท่ากับ 8.88 (+,ฑ) 4.73 และ 79.53(+,ฑ)30.46 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร ตามลำดับ ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ซึ่งไม่เคยรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์จำนวน 35 คน เท่ากับ 8.91 (+,ฑ)5.17 และ 98.44 (+,ฑ) 38.60 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับและในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ซึ่งเคย รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์จำนวน 31 คน เท่ากับ 8.50 (+,ฑ) 4.82 และ 76.03 (+,ฑ) 20.29 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ การศึกษาพบว่าปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงของกลุ่มสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดต่ำกว่าปริมาณโฟเลตในซีรัมและในเม็ดเลือดแดงของกลุ่มสตรีปกติไม่ตั้งครรภ์ซึ่งไม่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จึงควรเสริมโฟเลตให้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะการขาดโฟเลตที่อาจเกิดขึ้นได้
อ่านต่อ >>

แนวทางการจัดการน้ำเสียที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา ชุมชนเมืองราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : แนวทางการจัดการน้ำเสียที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา ชุมชนเมืองราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : สุพจน์ วัฒนวิทย์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สถาปัตยกรรมศาสตร์
สาขา : การวางผังเมือง
ปี : 2543
ISBN : 974-13-1363-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการจัดการน้ำเสียชุมชนเทศบาลเมืองราชบุรี โดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านลักษณะภูมิประเทศ กิจกรรมการใช้ที่ดินความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ ปริมาณน้ำเสียและแนวทางการบำบัดน้ำเสีย ผลการศึกษาพบว่าลักษณะภูมิประเทศในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำ แม่กลอง พื้นที่มีความลาดชันต่ำโดยทิศทางการไหลของน้ำผิวดินจะไหลจากทางด้านทิศตะวันตกของเทศบาลเมืองราชบุรีบริเวณเขาแก่นจันทร์ไปยังแม่น้ำแม่กลองซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ การใช้ที่ดินของชุมชนเมืองราชบุรีจะกระจุกตัวอยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองทั้งย่านพาณิชยกรรมและย่านพักอาศัยย่านอุตสาหกรรมประเภทโรงงานเครื่องปั้นดินเผาจะอยู่ที่บริเวณถนนเพชรเกษมสายเก่า ถนนศรีสุริยวงศ์และ ถนนเจดีย์หัก ส่วนย่านสถาบันราชการจะรวมกันอยู่เป็นศูนย์ราชการบริเวณถนนสมบูรณ์กุล การขยายตัวของชุมชนเมืองราชบุรีจะขยายไปตามแนวถนนมีศูนย์กลางความหนาแน่นอยู่ที่ย่านพาณิชยกรรมใจกลางเมือง ส่วนที่ขยายออกไปส่วนใหญ่เป็นประเภทพักอาศัยและอาคารพาณิชย์จากกิจกรรมในการใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภคของประชากรในชุมชนก่อให้เกิดน้ำเสียขึ้น การวางแผนควบคุมการใช้ที่ดินจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการกำหนดทิศทางเพื่อการจัดการน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ปี พ.ศ. 2562 เทศบาลเมืองราชบุรีจะมีปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้น 10,389 ลูกบาศก์เมตรต่อวันพื้นที่ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Aerated Lagoon จะใช้ทั้งสิ้น 23 ไร่และระบบบำบัดแบบ Activated Sludge จะใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 13 ไร่บริเวณก่อสร้างควรอยู่ทางด้านทิศใต้นอกเขตเทศบาลซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นที่ลุ่มต่ำง่ายต่อการรวบรวมน้ำเสียและค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ ดังนั้นแนวทางการจัดการน้ำเสียชุมชนในอนาคต จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนและควบคุมการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและระบบสาธารณูปโภคของเมืองส่งผลให้การจัดการน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดก่อเกิดประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนต่อไป
อ่านต่อ >>

มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถม ศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถม ศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วรรณวิทย์ รัตนสุทธิกุล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-148-4
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครู โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างจากแนว คิดตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 และพฤติกรรมการสอนของโคลและชาน (Cole and Chan) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearsons product - moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า1) การ ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและแต่ละรายด้านมีการปฏิบัติในระดับมาก ยกเว้นสองด้าน คือ ด้าน รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ และด้านปฏิบัติกิจกรรมทางวิชา การเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ที่มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรม การสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมและแต่ละรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของคุรุสภา พ.ศ. 2537 กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า มีความ สัมพันธ์กันในภาพรวมอยู่ในระดับสูง((+,g) = .758) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 นั่นคือ การปฏิบัติตามมาตรฐาน และพฤติกรรมการสอนดังกล่าวของครู ต่าง อธิบายซึ่งกันและกันได้ ((+,g)(2)) คิดเป็นร้อยละ 57.39
อ่านต่อ >>

การดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วิรัตน์ เอี่ยมสะอาด
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-099-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระดับและความแตกต่างของการ ดำเนินงานและความคาดหวังในการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของโรงเรียน ประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนที่ได้มาจากการสุ่มหลาย ขั้นตอน (multistage sampling) จำนวน 186 โรงเรียน ตามตารางประมาณการ ตัวอย่างของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน หรือครูวิชาการในกรณีที่ไม่มีผู้ช่วย ผู้บริหารโรงเรียน และครูปฏิบัติการสอน โรงเรียนละ 1 คน รวมเป็นโรงเรียนละ 3 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 558 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาครบทั้ง 186 โรงเรียน รวม 558 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานและความ คาดหวังในการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในโรงเรียนที่สร้างจากกรอบแนวคิด ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานด้านการประเมินผลภายใน โดยภาพรวมและเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความคาดหวังการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายใน โดยภาพรวมและเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. การดำเนินงานและความคาดหวังการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายใน ของโรงเรียน โดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความคาดหวังการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการ ดำเนินงานที่ปฏิบัติอยู่จริง
อ่านต่อ >>

ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
ชื่อนักศึกษา : คนึงรัตน์ คำมณี
สถาบัน : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : ส่งเสริมการเกษตร
ปี : 2545
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.lib.ku.ac.th/
บทคัดย่อ : วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของสมาชิกสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) 2) สภาพการเลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) 3) ความพึงพอใจขอ
อ่านต่อ >>

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบทจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบทจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กิริยา ลาภเจริญวงศ์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : รัฐศาสตร์
สาขา : ประชากรศาสตร์
ปี : 2543
ISBN : 974-13-0567-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ในเขตเมืองและเขตชนบทของจังหวัดราชบุรีรวมทั้งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40-59 ปี จำนวน 600 คน สุ่มเลือกจาก 3 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม โดยแยกเป็นเขตเมือง300 คน เขตชนบท 300 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลการศึกษาภาพรวม พบว่า สตรีตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ40-44 ปี สตรีจำนวนสามในสี่มีสถานภาพสมรสคู่ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีมากกว่าครึ่งของสตรีที่เป็นตัวอย่างสตรีในเขตเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจรายได้ครอบครัวเฉลี่ย 15,330 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้ 5,000 บาท และน้อยกว่าต่อเดือนสตรีจำนวนครึ่งหนึ่งยังคงมีประจำเดือน อายุเฉลี่ยเมื่อหมดประจำเดือน 48.9 ปีสตรีเกือบครึ่งยังไม่รู้จักคลินิกวัยทอง สตรีส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับกลางสตรีในเขตเมืองมีความรู้กี่ยวกับภาวะหมดระดูและมีการดูแลสุขภาพตนเองดีกว่า สตรีในเขตชนบท เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู พบว่า เขตที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดู แหล่งความรู้ที่สตรีได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู จำนวนแหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะหมดระดู และประเภทของสถานบริการ มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานขณะที่ตัวแปรด้านอายุไม่ เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ สตรีที่มีอายุมากกว่ามีการดูแลสุขภาพดีกว่าสตรีที่มีอายุน้อย ส่วนระดับปัญหาสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวเนื่องจากการหมดระดูไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวั ยหมดระดู
อ่านต่อ >>

การศึกษาผลการเรียนวิชา ท 204 ภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ที่เรียนโดยใช้วรรณกรรมในท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาผลการเรียนวิชา ท 204 ภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ที่เรียนโดยใช้วรรณกรรมในท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : รัชฎาภรณ์ คาวีรัตน์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : หลักสูตรและการสอน
ปี : 2544
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสามารถทางทักษะภาษาไทย (2) ความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมในท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี และ (3) ความคิด เห็นต่อบรรยากาศการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
อ่านต่อ >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กรรณิการ์ ชุติพงศ์ศาศวัต
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : การศึกษา
สาขา : สุขศึกษา
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://lib.swu.ac.th/data_thesis.php
บทคัดย่อ : ผลการศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็น เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกองค์การบริหาร ส่วนตำบล ประสบการณ์ ในการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประสบการณ์ในการเป็น อาสาสมัครสาธารณสุข ตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบล และความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน โรคเอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี จำนวน 321 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปัองกันโรคเอดส์ และแบบ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปัองกันโรคเอดส์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และวิเคราะห์ ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way analysis of variance) โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป เอส พี เอส เอส (SPSS:Statistical Package for the Social Science) ผลการศึกษา พบว่า 1. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การป้องกันโรคเอดส์ อยู่ในระดับดี 2. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ที่มี เพศ ระดับการศึกษา และความรู้เกี่ยวกับการปัองกันโรคเอดส์ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปัองกัน โรคเอดส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ที่มีอายุ อาชีพ ฐานะทาง เศรษฐกิจ ประสบการณ์ในการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประสบการณ์ในการเป็น อาสาสมัครสาธารณสุข และตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบลต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ แตกต่างกัน
อ่านต่อ >>

การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง (หน่อเขียว) ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปีการเพาะปลูก 2536/2537

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง (หน่อเขียว) ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปีการเพาะปลูก 2536/2537
ชื่อนักศึกษา : พรเฉลิม คุโณทัย
สถาบัน : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เศรษฐศาสตร์
สาขา : เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ปี : 2538
ISBN : 974-677-032-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.utcc.ac.th
บทคัดย่อ : หน่อไม้ฝรั่งเริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกอย่างจริงจังตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา เป็นพืชที่ทำรายได้ดี หน่อไม้ฝรั่งชนิดหน่อเขียวใช้บริโภคสด และส่งไปจำหน่ายยัง ต่างประเทศทั้งแบบสดและแบบแช่แข็ง วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการเพาะปลูก หน่อไม้ฝรั่งและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง โดยเน้น ศึกษาในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในปีแรก การทำสวนหน่อไม้ฝรั่งนั้น มีการลงทุนสูงเนื่องจากมีค่าพันธุ์เข้ามา เกี่ยวข้องและการเก็บผลผลิตยังเก็บได้ไม่เต็มที่ ต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด 25,682 บาทต่อไร่ ประกอบด้วยค่าแรงงานและค่าปุ๋ยเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ย 19,094 บาทต่อไร่ ในปีแรก เกษตรกรขาดทุนสุทธิ 6,588 บาทต่อไร่ แต่ถ้าคิดเฉพาะต้นทุนที่เป็นเงินสด เกษตรกรจะมี รายได้สุทธิ 5,364 บาทต่อไร่ ส่วนในปีที่ 2-3 มีต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด 23,811 บาทต่อไร่ ซึ่งประกอบด้วยค่า แรงงานและค่าปุ๋ยเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ย 41,841 บาทต่อไร่ ดังนั้นเกษตรกรมีรายได้ สุทธิ 18,030 บาทต่อไร่ ถ้าคิดเฉพาะต้นทุนที่เป็นเงินสดเกษตรกรจะมีรายได้สุทธิ 30,163 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้มากที่สุด โดยในปีแรกมีค่าความยืดหยุ่น 0.9033 คือถ้าเพิ่มมูลค่าปุ๋ยร้อยละ 1 จะทำให้รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9033 ส่วนในปีที่ 2 และ 3 มีค่าความยืดหยุ่น 0.5860 กล่าวคือถ้า เพิ่มมูลค่าปุ๋ยร้อยละ 1 จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5860 ดังนั้นเกษตรกรควรเพิ่ม ปริมาณการใช้ปุ๋ยให้มากขึ้น เพื่อทำให้รายได้สูงขึ้น
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่มีผลต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีกอง บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่มีผลต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีกอง บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : บุญส่ง ห้องแซง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศิลปศาสตร์
สาขา : รัฐศาสตร์
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.lib.ru.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความเห็นของเจ้าหน้าที่ ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดราชบุรีที่มีต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัย ภูมิหลังทางสังคมของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดในสังกัด กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรีที่มีต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 3) ศึกษาถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 4) ศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค และข้อขัดข้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการ ปราบปรามยาเสพติดในการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจ ปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดในกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี จำนวน 163 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบปราม ยาเสพติดในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี ที่มีต่อการสืบสวนผู้กระทำผิด ฐานจำหน่ายยาบ้าอยู่ในระดับสูง 2. ปัจจัยภูมิหลังทางสังคม คือ อายุ อายุราชการ ระดับชั้นยศ รายได้ วุฒิการศึกษา สถานภาพสมรส และการฝึกอบรมด้านยาเสพติดที่แตกต่างกัน ไม่มีผลกับ ความความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้าแตกต่างกัน 3. ปัจจัยภายในหน่วยงานในด้านสวัสดิการและเงินเดือน มีความสัมพันธ์ กับความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า ส่วนปัจจัยภายในหน่วย งานในด้านกำลังพล งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่มีความ สัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า 4. ปัจจัยภายนอกหน่วยงานในด้านความร่วมมือของประชาชน มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิดฐานจำหน่ายยาบ้า ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านกฎหมายและข้อบังคับ ด้านกลุ่ม อิทธิพล ด้านการเสนอข่าวของสื่อมวลชน ด้านกระบวนการผลิตและจำหน่ายยาบ้า และด้านสายลับ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการสืบสวนผู้กระทำผิด ฐานจำหน่ายยาบ้า
อ่านต่อ >>

แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วีรดา ชุลีกราน
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-084-4
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวิถีชีวิต ประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับวิถีชีวิตประชาธิปไตยของ นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบ แบบสอบถาม คือ โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา และ/หรือชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงชั้นประถมศึกษาปีที่หก สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี จำนวน 75 โรงเรียน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จัดกลุ่มสนทนา คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน 9 คน กลุ่มครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม ประชาธิปไตย 9 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษา และ 2) โครงสร้างประเด็นคำถามในการจัดกลุ่มสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. วิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. วิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของบุคคลสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายโรงเรียน ฝ่ายชุมชน และฝ่ายนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.1 ทั้งภาพรวมและรายด้าน 3. แนวทางพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้ ความสำคัญกับการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) บุคลากรทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 3) การพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตย ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง 4) ครูควรจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม 5) ครูต้องฝึกฝนให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และสามารถแก้ปัญหาบนพื้นฐานความถูกต้องและมีเหตุผลสนับสนุน 6) สถาน ศึกษาต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และ 7) ผู้บริหารสถาน ศึกษาควรยกย่องผู้ที่ปฏิบัติตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
อ่านต่อ >>

เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ปราโมทย์ รี้พล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-076-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและ กระบวนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาว โดยมีโรงเรียนตัวอย่างจำนวน 186 โรงเรียนตามตารางของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เป็นโรงเรียน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนสีขาว 104 โรง และโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การ ประเมินโรงเรียนสีขาว 82 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละหกคนได้แก่ ผู้บริหาร โรงเรียน ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน ผู้แทนผู้นำชุมชน และ ผู้นำปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 1,116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 1 ฉบับ สร้างขึ้นจากแนวทาง ของแบบสอบถามการประเมินผลการดำเนินงานโครงการสีขาว กระทรวงศึกษาธิการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควส์ และการทดสอบหลัง ด้วยวิธีการของมาร์สกีโล (Marasquilo,s test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและการปฏิบัติของโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมและตัวแปรสภาพแวดล้อม และกระบวนการโรงเรียนส่วนใหญ่มีลักษณะ ใช่ และ ปฏิบัติ มากที่สุด เมื่อ พิจารณาจำแนกตามรายตัวแปรย่อย ตัวแปรสภาพแวดล้อม โรงเรียนมีสภาพในลักษณะ ใช่ จำนวนสามตัวแปร คือตัวแปรสภาพภูมิศาสตร์ นโยบายและแผน และกรอบการ ดำเนินงาน ตัวแปรกระบวนการ โรงเรียนส่วนใหญ่ ปฏิบัติ จำนวนห้าตัวแปร คือ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การวางแผนดำเนินการ การดำเนินงาน ตามแผน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการประเมินผล 2. ความแตกต่างในการปฏิบัติงานของโรงเรียนสีขาวที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน พบว่า ในภาพรวม ตัวแปรสภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวนมากกว่า เมื่อ พิจารณาในรายตัวแปรย่อย พบว่า สภาพแวดล้อม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวนมากกว่า การทดสอบหลังด้วยวิธีการของมาร์สกีโล (Marasquilos test) ในภาพรวม ตัวแปร สภาพแวดล้อม และตัวแปรย่อยสภาพเศรษฐกิจ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในข้อคำตอบ ใช่ และ ไม่ใช่และไม่ทราบ
อ่านต่อ >>

การประเมินการใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตตินในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การประเมินการใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตตินในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : พัทรียา โภคะกุล
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เภสัชศาสตร์
สาขา : เภสัชกรรมคลินิก
ปี : 2544
ISBN : 974-17-0000-8
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลในขณะผู้ป่วยได้รับการสั่งใช้ยามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ยากลุ่มสแตตินในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรีทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทำการศึกษาตั้งแต่ 1 กันยายน - 31 ธันวาคม 2544 โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการประเมินการใช้ยาโรงพยาบาลราชบุรี เกณฑ์การประเมินประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) ข้อบ่งใช้ (2) ข้อห้ามใช้(3) การติดตามการใช้ยา และ (4) ขนาดและวิธีการบริหารยา นอกจากนี้ยังศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และอันตรกิริยาของยาสแตตินกับยาอื่นที่สั่งใช้ร่วมกัน และดำเนินการแก้ไขเมื่อพบการสั่งใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์และ/หรือเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรือมีการสั่งใช้ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยา ผู้ป่วยที่ศึกษามี 247 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 58.30 เพศหญิงร้อยละ 41.70อายุเฉลี่ย 53.02 (+,ฑ)11.34 ปี ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่พบมากคือ อายุและความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 68.02 และ 46.15 ตามลำดับ) ผู้ป่วยส่วนใหญ่(ร้อยละ 70.44) ใช้สิทธิการรักษาโดยเบิกต้นสังกัด มีการใช้ยาสแตตินเพื่อการป้องกันแบบทุติยภูมิ (ร้อยละ 55.99) มากกว่าแบบปฐมภูมิ (ร้อยละ 44.01) ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการใช้ยาสแตตินมากที่สุด รองลงมาคือโรคหลอดเลือดหัวใจ (ร้อยละ 50.94 และ 25.16ตามลำดับ) มีการสั่งใช้ยาซิมวาสแตตินมากกว่ายาอะทอร์วาสแตติน (ร้อยละ 82.59 และ17.41 ตามลำดับ) การประเมินการสั่งใช้ยาพบว่าตรงตามเกณฑ์ทั้งหมดในผู้ป่วย 34 ราย (ร้อยละ 13.77)มีมูลค่าการใช้ยา 16,798 บาท มีการใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์อย่างน้อย 1 หัวข้อในผู้ป่วย196 ราย (ร้อยละ 79.35) มีมูลค่า 85,080 บาท และไม่สามารถสรุปได้ 17 ราย(ร้อยละ 6.88) มีมูลค่า 11,830 บาท การใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์ ข้อบ่งใช้ที่พบมากที่สุดคือ ไม่ได้ควบคุมอาหารก่อนเริ่มให้ยาเพื่อการป้องกันแบบปฐมภูมิ ร้อยละ 63.64 พบการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับซึ่งเป็นข้อห้ามใช้ของยากลุ่มสแตติน 7 ราย การติดตามการใช้ยาส่วนใหญ่ที่ไม่ตรงตรงเกณฑ์คือ ไม่มีการเจาะวัดระดับไขมันหลังเริ่มรักษาด้วยยา 4-8 สัปดาห์ ร้อยละ 57.09 รองลงมา คือ ไม่มีการแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารควบคู่กับการรักษาด้วยยา ร้อยละ 13.36 ไม่มีการสั่งรับประทานยาซิมวาสแตตินในตอนเย็นหรือก่อนนอนร้อยละ 63.73 ผู้ป่วยได้รับการสั่งใช้ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยากับยากลุ่มสแตตินร้อยละ 5.26 พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 4.17 แพทย์มีการเปลี่ยนแปลงการสั่งจ่ายยาตามคำแนะนำของเภสัชกรร้อยละ 66.86 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 33.14 จากผลการศึกษาจะเห็นว่ามีการใช้ยาไม่ตรงตามเกณฑ์ค่อนข้างมาก จึงควรมีการประเมินการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลต่อไป
อ่านต่อ >>

การศึกษาสมการพยากรณ์การบริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสมการพยากรณ์การบริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : จิรวรรณ สันติภูมิโพธา
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
ปี : 2544
ISBN : 974-653-166-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการให้บริการชุมชนของ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี และศึกษา ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการชุมชน และศึกษาสมการที่ใช้ในการทำนาย การบริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 1ฉบับ แบ่งเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหารและโรงเรียน ตอนที่ 2 เป็นแบบวัด ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการให้บริการชุมชน ตอนที่ 3 สอบถามเรื่องการ ให้บริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถาม ปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ในการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พหุคูณ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) การให้บริการชุมชนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โรงเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ ปานกลาง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้และข่าวสาร ด้านการเมืองและการปกครอง ด้านสาธารณสุข ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณี ด้านอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพบว่าโรงเรียนมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับน้อยเพียงด้านเดียว คือด้านอาชีพ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สถานภาพของผู้บริหารและสภาพของโรงเรียนกับการให้บริการชุมชน พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความคิดเห็นของผู้บริหาร ที่มีต่อการให้บริการชุมชน (3) สมการพยากรณ์การให้บริการชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี Y(,รวม)=.186+.171X(,5)+.441X(,7)+.102X(,6) จากสมการพยากรณ์พบว่า ตัวแปรที่ ส่งผลต่อการให้บริการชุมชนโดยภาพรวม ได้แก่ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการให้บริการชุมชน และความร่วมมือของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการชุมชน คือ ขาดวัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ ขาดงบประมาณ ขาดบุคลากร
อ่านต่อ >>

ความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และความเครียดของครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และความเครียดของครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : นิศารัตน์ เอี่ยมชาญบรรจง
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : สุขภาพจิต
ปี : 2545
ISBN : 974-17-0851-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.car.chula.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต และระดับความเครียด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด472 คน ซึ่งเป็นครูในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียด และแบบสอบถามความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิต สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ สถิติไลลี่ฮู๊ด และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา 1. ครูมีความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 69.5, 71.0, 66.7 และ 72.7 ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตของครู คือ ความอบอุ่นในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. เจตคติเกี่ยวกับสุขภาพจิตของครู ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ศึกษา 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตของครูคือ อายุสถานภาพสมรส ความอบอุ่นในครอบครัว สังกัดที่ทำงาน และประสบการณ์ในการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของครูคือ ความอบอุ่นในครอบครัว ประวัติครอบครัวป่วยทางด้านจิตใจและอารมณ์ ความหนักใจกับปัญหาในที่ทำงาน และความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ส่วนปัจจัยด้านเจตคติและทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ
อ่านต่อ >>

ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการปรึกษาเรื่องยา ศึกษา เฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการปรึกษาเรื่องยา ศึกษา เฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อุไรศรี ศุภดิลกลักษณ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
สาขา : สื่อสารมวลชน
ปี : 2536
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่องความน่าเชื่อถือของเภสัชกรในบริการ ปรึกษาเรื่องยา ศึกษาเฉพาะกรณี : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความน่าเชื่อถือของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา ตลอดจนศึกษาถึง ความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้ป่วยนอกมีต่อความ น่าเชื่อถือของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัจจัยในตัว เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาและผู้ป่วยที่แตกต่างกัน การศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำ การวัดเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้ป่วยมาใช้บริการจาก ร.พ.ราชบุรี และได้รับคัดเลือกให้เข้ารับบริการปรึกษา เรื่องยา เฉพาะในวันและเวลาราชการ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามและสัมภาษณ์ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบ Random Sampling ในผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และสามารถใช้ยา ได้ด้วยตนเอง จำนวน 168 ราย โดยให้ผู้ป่วย 24 รายรับ คำปรึกษาจากเภสัชกรแต่ละคน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 7 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ แสดงผลออกมาเป็นค่าร้อยละ ผลของ การทดสอบแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจำแนกทางเดียว (Analysis of Variance : F-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis : ) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ อายุราชการ ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา และการสวมเครื่องแบบของ เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษารวมทั้ง เพศ อายุ สถานภาพสมรสอาชีพ การเป็นสมาชิกสังกัดกลุ่มต่าง ๆ และภูมิลำเนาของผู้ป่วย ไม่ได้ทำให้ความน่าเชื่อถือที่มีต่อเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษาและรายได้ของผู้ป่วย ทำให้ ความคิดเห็นของผู้ป่วย ที่มีต่อความน่าเชื่อถือของเภสัชกร ผู้ให้คำปรึกษาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.001 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า ความน่าเชื่อถือ โดยรวมของเภสัชกรผู้ให้คำปรึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ คือมากกว่า 80% ขึ้นไป ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อีกด้วย ข้อเสนอแนะด้านระเบียบวิธีวิจัย ควรทำการศึกษาใน โรงพยาบาลอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันเปรียบเทียบดูผลที่ได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ใช้ได้ทั่วไป ควรใช้กลุ่มตัวอย่าง ใหญ่ขึ้น และควรใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วย เพื่อวิเคราะห์คำพูดเนื้อหาของข่าวสารที่เภสัชกรผู้ให้ คำปรึกษาใช้สื่อสารกับผู้ป่วย สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกิด จากผู้ป่วยควรศึกษาจากเภสัชกรที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เพียงท่านเดียว ส่วนข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา เภสัชกรผู้ให้ คำปรึกษาพึงตระหนักถึง และส่งเสริมให้มีการสื่อสารสองทาง กับผู้ป่วยให้มากขึ้น เพื่อรับทราบปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ป่วย เภสัชกรผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาควรที่จะสามารถวิเคราะห์และ ประเมินสถานภาพของผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ และต้องพัฒนา ตนเองให้มีความรู้ในเรื่องของยาโรคและสาเหตุ วิธีการ ป้องกันโรค วิธีปฏิบัติตัวในขณะเจ็บป่วย รวมถึงวิธีการใช้ คำพูดอธิบายแก่ผู้ป่วยเพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการปรับ เนื้อหาสาระของข่าวสาร ที่จะทำการสื่อสารให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคลในเวลาที่จำกัด
อ่านต่อ >>

การศึกษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา : ศึกษา เฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา : ศึกษา เฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : สามารถ นิลวงศ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขา : สวัสดิการแรงงาน
ปี : 2534
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรม เครื่องเคลือบดินเผาศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจ้างงานทั้งในลักษณะการจ้างงานแบบแข่งขันและระ บบผูกขาด แล้วจึงได้นำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการจ้างงานใน อุตสาหกรรมนี้กับการขาดแคลนคนงาน พร้อมทั้งผลกระทบของระบบการจ้างที่ มีต่อการใช้เทคโนโลยี วิธีการศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำงานใน กิจการเครื่องเคลือบดินเผาที่ลาออกจากงานไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทำให้ได้ ข้อมูลเบื้องต้นเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์นายจ้าง ลูกจ้างเพื่อให้ได้คำตอบที่ ตรงกันความต้องการ อันเป็นการลดปัญหาและประหยัดเวลาในการเก็บรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นนายจ้าง 22 คน หรือ ร้อยละ 45.0 ของนายจ้างทั้งหมด และลูกจ้างจำแนกตามลักษณะงาน 7 ประเภท จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 ของลูกจ้างทั้งหมด การสัมภาษณ์นายจ้างสัมภาษณ์จากบริเวณสถานประกอบการและ สถานที่พบ ส่วนลูกจ้างสัมภาษณ์ขณะที่ทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์และนัด หมายเพื่อสัมภาษณ์ต่อที่พักหรือร้านค้าปลีกในหมู่บ้านที่เป็นที่พักอาศัย อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาในจังหวัดราชบุรีต่อเนื่องกัน มานานกว่า 50 ปี คือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 49 แห่ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีบิดามารดาเป็นเจ้าของกิจการที่เคยเป็นช่างปั้นมา ก่อน ปัจจุบันการจ้างงานในกิจการสมัยใหม่ได้แข่งขันกันในด้านการบริหาร งานบุคคล แต่ในกิจการการผลิตเครื่องเคลือบดินเผายังคงใช้ระบบการจ้าง งานที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แรงงานทุกประเภทโดยเฉพาะช่างฝีมือเพราะไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือ การผลิตสมัยใหม่ได้ประกอบกับได้มีกิจการตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาการขาด แคลนแรงงานจึงได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นมีการซื้อตัวลูกจ้างด้วยราคาสูง นายจ้างได้ตระหนักในปัญหานี้ดีและได้หาทางแก้ไขด้วยการรวมรวมตัวกันเป็น สมาคม เพื่อกำหนดราคาค่าจ้าง และให้สมาชิกทุกรายถือปฏิบัติในลักษณะของ การผูกขาดการจ้าง (CARTEL) แต่วิธีการนี้ไม่ได้ผลเพราะสมาชิกยังคงได้ ใช้วิธีการแย่งกันซื้อตัวลูกจ้างอยู่ นอกจากนี้สมาคมยังได้กำหนดราคาการ จำหน่วยผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการขาดตัดราคาให้สมาชิกรายถือปฏิบัติด้วย ลูกจ้างในกิจการการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่เป็นขาย มีร้อยละ 78.0 และสมรสแล้วร้อยละ 91.0 ร้อยละ 75.0 มีสมาชิกในครอบครัวร่วม ทำงานในสถานประกอบการเดียวกันมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงานถึงร้อยละ 79.0 และลูกจ้างเกือบทั้งหมดคือร้อยละ 92.0 มีหนี้สินที่เกิดจากการซื้อตัว ของนายจ้างเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 ถึงเกินกว่า 50,000 บาท ในเรื่องสภาพการจ้างนายจ้างไม่ได้กำหนดระเบียบข้อบังคับในการทำ งานไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ปฏิบัติติดต่อกันมานับตั้งแต่มีการตั้งโรงงาน การทำงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่จะหยุดงาน 1 วัน เมื่อทำงานแล้ว 15-16 วัน ส่วนวันหยุดตามประเพณีลูกจ้างจะหยุดงานตามความจำเป็น สำหรับค่าจ้าง ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน รายเดือน และราย เหมาตามชิ้นงานลูกจ้างเกือบทุกประเภทที่เป็นช่าง คือ ช่างปั้น ช่างติดลาย ช่างตีโอ่ง คนงานนวดดิน จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเหมาตามชิ้นงาน ช่างเตา และช่างติดลายพิเศษได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนโดยช่างเตาจะได้รับค่าจ้าง เพิ่ม ในการเผาแต่ละเตา ลูกจ้างเผาแต่ละเตา ลูกจ้างรายวันได้ แก่กรรมกรทั่วไป การกำหนดค่าจ้างเหมาตามชิ้นงาน สมาคมเป็นผู้กำหนดให้ นายจ้างทุกรายถือปฏิบัติ มีการปรับขึ้นค่าจ้างตามการปรับราคาขายส่ง และ การประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนค่าจ้างรายเดือนและรายวันนายจ้าง แต่ละรายเป็นผู้กำหนด นายจ้างจะซื้อตัวลูกจ้างที่เป็นช่างฝีมือ เพราะมีช่างฝีมือจำกัดไม่พอ เพียงกับความต้องการ ผู้ที่เป็นช่างไม่มีเวลาฝึกสอนผู้ที่ต้องการเป็นช่างเพราะ ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ได้ปริมาณงานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างปั้น โอ่งซึ่งเป็นคนงานที่มีความสำคัญที่สุด ซึ่งต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกมือด้วยการฝึก หัดช่างจึงใช้วิธีการ ครูพักลักจำ ลูกจ้างยังไม่ได้รับสิทธิขั้นต่ำที่จำเป็นตามกฎหมายมีสภาพแวดล้อมใน งานที่การทำงานที่ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย ดังนั้นผู้ที่อยู่ในวัยที่จะเข้าสู่ ตลาดแรงงาน จึงเลือกที่จะไปทำงานในสถานประกอบการที่มีสภาพการจ้างดี กว่า ซึ่งปัจจุบันกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ปัญหาการขาดแคลน ลูกจ้างทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนคนงานที่นายจ้างใช้วิธีการซื้อตัวและให้ ลูกจ้างรับสภาพหนี้แทนที่จะปรับปรุงสภาพการจ้างให้ถูกต้อง จึงเป็นการขมวด ปมปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคือเจ้าหน้า ที่ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปแนะนำชี้แจงนายจ้างให้เปลี่ยนทัศนคติใน การจ้างงานของนายจ้างให้เป็นรูปธรรม หาไม่แล้วจะเกิดปัญหาการขาด แคลนคนงานจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ โอ่งมังกรที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีและการดำรงชีวิตแบบไทย ๆ ต้องสูญเสียไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
อ่านต่อ >>

พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อนันต์ สุริยาศรีสกุล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรง เรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงและต่ำ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนสูงและต่ำกลุ่มละ 89 โรงเรียน รวม 178 โรงเรียน ผู้ให้ ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียน รวม ทั้งสิ้น 534 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหาร งานวิชาการตามขอบข่ายงานวิชาการของกรมวิชาการในการประเมินโรงเรียนเพื่อรับ รางวัลพระราชทาน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงอยู่ในระดับดี 2) พฤติ กรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนต่ำ อยู่ในระดับปานกลาง 3) พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงและ ต่ำ มีพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการทั้งเก้าด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และครูผู้สอน ไม่แตกต่างกัน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
อ่านต่อ >>

การศึกษาสภาพการเลี้ยงสุกรและสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรลูกผสมสองสายเลือด ในจังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาสภาพการเลี้ยงสุกรและสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรลูกผสมสองสายเลือด ในจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ระพีพร แพงไพรี
สถาบัน : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : สัตวศาสตร์
ปี : 2545
ISBN : 974-367-799-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://lib09.kku.ac.th/web/
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานของผู้เลี้ยงสุกร สภาพภาพการเลี้ยงสุกร ปัญหาการเลี้ยงสุกร และ สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของสุกรลูก ผสมสองสายเลือดในฟาร์มขนาดย่อมและฟาร์มขนาดใหญ่ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้แบบ สัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้บริการของธนาคารออมสิน "กรณีศึกษาจากกรุงเทพมหานครและราชบุรี"

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการใช้บริการของธนาคารออมสิน "กรณีศึกษาจากกรุงเทพมหานครและราชบุรี"
ชื่อนักศึกษา : จารุนันท์ ชีวีวัฒน์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เศรษฐศาสตร์
สาขา : เศรษฐศาสตร์
ปี : 2537
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://laic.dpu.ac.th/index.php?page=index_thesis
บทคัดย่อ : ศึกษาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของผู้ใช้บริการธนาคาร ออมสิน โดยใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแบ่ง เท่า ๆ กัน ระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดราชบุรี ซึ่ง เป็นการศึกษาอย่างกว้าง ๆ ครอบคลุมไปถึงบุคคลอาชีพต่าง ๆ วิธีการคัดเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง โดยที่ประชาชนทุกคนที่ไปใช้บริการของธนาคารมีโอกาสถูก เลือกเท่า ๆ กัน โดยแบ่งแบบสัมภาษณ์ออกเป็นจังหวัดละ 200 ตัวอย่าง โดยสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ 100 ตัวอย่าง ธนาคารออมสิน 100 ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ ได้นั้นเป็นข้อมูลจากภาคสนามทั้งสิ้น ผลที่ได้สามารถยืนยัน สมมติฐานที่ว่า ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมักนิยมใช้บริการ กับธนาคารออมสินมากกว่าธนาคารพาณิชย์ ส่วนผู้มีรายได้สูง มักจะนิยมใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าธนาคาร ออมสิน เมื่อพิจารณากลุ่มประชาชนซึ่งมีรายได้ในระดับเดียว กันในจังหวัดราชบุรีนั้นนิยมใช้บริการกับธนาคารออมสิน มากกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานคร และผู้ใช้บริการกับ ธนาคารออมสินโดยไม่ใช้ธนาคารพาณิชย์นั้นจะอยู่ในกลุ่ม ของผู้ที่ไม่มีรายได้ถึงมีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือน และจะอยู่ในกลุ่มอาชีพนักเรียนนักศึกษาและ แม่บ้าน เหตุผลสำคัญในการฝากเงินกับธนาคารออมสินก็คือ การที่ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินของรัฐโดยมีรัฐบาล เป็นประกันจึงปราศจากความเสี่ยงใด ๆ โดยทั่ว ๆ ไป ในการเลือกฝากเงินของประชาชนนั้นประชาชนจะให้ความ สนใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับจากเงินฝากนั้น โดยคำนึงถึง ความเสี่ยงด้วย และ TRANSACTION COST จากการได้รับ การบริการซึ่งสามารถลดได้ คือ การมีระบบฝากถอนเงินด่วน (ATM),มีสถานที่สะดวกและประสิทธิภาพในการบริการที่ดี จากพนักงาน ส่วนประชาชนที่ใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์โดย ไม่ใช้ธนาคารออมสิน ชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา ดอกเบี้ยจากเงินฝากที่สูงกว่านั่นเอง ผู้เขียนพบว่ามี ประชาชนอีกกลุ่มซึ่งใช้บริการทั้งธนาคารออมสินและธนาคาร พาณิชย์ร่วมกัน กลุ่มคนพวกนี้เป็นผู้ไม่ชอบความเสี่ยง แต่ จะคำนึงถึงผลตอบแทนจากการกระจายความเสี่ยง จึงกระจาย ความเสี่ยงโดยถือเงินฝากทั้งธนาคารออมสินและธนาคาร พาณิชย์ โดยคำนึงว่าผลตอบแทนสูงย่อมได้รับความเสี่ยง สูงตามไปด้วย
อ่านต่อ >>

ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านจากกรมอนามัย กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลระดับชั้น 3ฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านจากกรมอนามัย กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลระดับชั้น 3, 4 และ 5 จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ปิยะพงศ์ ด้วงเฮี้ยม
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : วิทยาศาสตร์
สาขา : การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท
ปี : 2545
ISBN : 974-04-2699-9
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การศึกษาศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการรองรับการถ่ายโอนงาน บริหารระบบประปาหมู่บ้านจากกรมอนามัย เป็นการศึกษาเพียงส่วนหนึ่งของแผนงานกระจาย อำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นตามนโยบายการกระจายอำนาจที่ประสบปัญหา การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดราชบุรี ในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปาหมู่บ้านจากกรมอนามัย รวมทั้งทราบถึง ปัจจัยที่ส่งผลให้ อบต.มีศักยภาพฯ ศึกษาจากกลุ่มศึกษาจำนวน 340 ราย เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการจำแนกพหุด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษามีศักยภาพในการรองรับการถ่ายโอนงานบริหารระบบประปา หมู่บ้านระดับปานกลาง ปัจจัยบุคคลด้านการศึกษาและรายได้มีผลต่อระดับศักยภาพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านการศึกษามีผลต่อปัจจัยด้าน ความรู้ โดยที่ปัจจัยด้านความรู้เป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพฯ จากการวิเคราะห์แบบ จำแนกพหุพบว่า เพศชาย, การมีการศึกษาสูง, มีรายได้สูง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ศักยภาพฯ โดยเพศชายมีศักยภาพฯ สูงกว่าเพศหญิง การมีการศึกษาระดับที่สูงทำให้ เกิดศักยภาพฯ สูงกว่าการมีการศึกษาระดับต่ำ รายได้ที่สูงกว่าก่อให้เกิดศักยภาพฯ ที่สูงกว่ารายได้ต่ำ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีศักยภาพฯ สูงคือผู้ที่มี การศึกษาสูง ควรให้การพัฒนาความรู้แก่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบลด้วยกันควรคัดเลือกผู้มีการศึกษาที่ดีเข้าเป็นผู้บริหารองค์กร ต่อไป ควรมีการศึกษาองค์กรที่ได้รับการถ่ายโอนงาน
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : วิรัช ตันตระกูล
สถาบัน : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : บริหารการศึกษา
ปี : 2542
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.stou.ac.th
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรม การบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของ ผู้บริหารโรงเรียน (2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการบริหารงาน วิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์ มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ โรงเรียนและครูผู้สอนจากโรงเรียนกลุ่มระดับคุณภาพสูง 103 โรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำ 103 โรงเรียน รวม 618 คน เครื่องมือที่ ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ((-,x)) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ ค่าถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS/PC(+) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ระดับพฤติกรรมการบริหารงาน วิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหาร โรงเรียนกลุ่มระดับคุณภาพสูงค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนโรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำค่าเฉลี่ยอยู่ในระัดบปานกลาง (2) ผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษากลุ่มระดับคุณภาพสูงกับโรงเรียนกลุ่มระดับ คุณภาพต่ำ มีพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการแต่ละมาตรฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาพรวม พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ 4 มาตรฐาน แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การบริหารงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน ตามลำดับจากมากไปหาน้อยกลุ่มโรงเรียน ระดับคุณภาพสูง ปัจจัยภายใน ได้แก่ ห้องสื่อการเรียน, อายุของ ครูวิชาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.), ครูวิชาการเพศชาย, วัสดุครุภัณฑ์, อายุราชการ ณ โรงเรียนปัจจุบันของครูวิชาการโรงเรียน, ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบาย สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ (สปอ.), อายุเฉลี่ย ของผู้ปกครองนักเรียน, อาชีพของผู้ปกครองนักเรียน, ส่วนโรงเรียน กลุ่มระดับคุณภาพต่ำ ปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุของครูผู้สอน, อายุ ราชการของผู้บริหารโรงเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทักษะ (คณิตศาสตร์), วุฒิการศึกษาของครูผู้สอน, ห้องสมุดโรงเรียน, ตำแหน่งของครูวิชาการโรงเรียน, ห้องกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ, จำนวนนักเรียนหญิง, ห้องกิจกรรมสหกรณ์, จำนวนครูเพศชาย, ผู้บริหารโรงเรียนเพศหญิง, ปัจจัยภายนอก ได้แก่ รายได้ต่อเดือน โดยเฉลี่ยของผู้ปกครองนักเรียน
อ่านต่อ >>

การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2543

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2543
ชื่อนักศึกษา : บุญรัตน์ สมคเณ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
ปี : 2544
ISBN : 974-653-046-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลโครงการ ฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้ เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ จำนวน 2 คน วิทยากร จำนวน 47 คน ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ แบบทดสอบ และแบบบันทึกการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้รูปแบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP MODEL) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโดยประเมินความสอดคล้องระหว่าง นโยบายกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้รับ การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง และความสอดคล้องระหว่าง วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้น ความรู้ชั้นสูงกับ ความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยประเมินความพร้อม และความเหมาะสมของ หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร ระยะเวลาที่ใช้ใน การฝึกอบรม สภาพความพร้อมของอุปกรณ์การฝึกอบรม สถานที่ฝึกอบรม งบประมาณ ด้านกระบวนการฝึกอบรม โดยประเมินกิจกรรมการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล ด้านผลสัมฤทธิ์ โดยประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรมด้านความรู้ ทักษะ และการนำไปใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการค่อนข้างมาก คือสามารถนำความรู้ไปใช้ ฝึกอบรมต่อไปได้ และวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมสนองต่อความต้องการ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีผลในการนำไปใช้ฝึกอบรมต่อไปได้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ว่าส่วนประกอบต่างๆ ที่สนับสนุนในการดำเนินการฝึกอบรม ได้แก่ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สภาพความพร้อม ของอุปกรณ์การฝึกอบรม งบประมาณ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม คือผู้บริหารโครงการ วิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ยกเว้น สถานที่ฝึกอบรม มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมาก ด้านกระบวนการ สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความเห็นว่า กระบวนการฝึกอบรม มีความเหมาะสมระดับมาก ยกเว้นการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้และทักษะ อยู่ในระดับดี ส่วนด้านการนำความรู้ไปใช้ สรุปได้ว่ามีการนำความรู้ไปใช้ในการอบรมอยู่ในระดับดี
อ่านต่อ >>

ชีวิต พิธีกรรมและเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทย กรณีศึกษาในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ชีวิต พิธีกรรมและเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทย กรณีศึกษาในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : อะระโท โอชิมา
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สาขา : มนุษยวิทยา
ปี : 2535
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาเรื่องชีวิต พิธีกรรมและเอกลักษณ์ทาง ชาติพันธุ์ของคนมอญในเมืองไทย กรณีศึกษาในเขตอำเภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาการ ธำรงชาติพันธุ์มอญ โดยพิจารณาการแสดงออกและการเรียนรู้ เอกลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ และพรมแดนชาติพันธุ์มอญในชีวิต ประจำวันและพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนมอญ เพื่อที่จะศึกษาให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้เขียนจึงตั้งใจมองความสัมพันธ์ ระหว่างการธำรงชาติพันธุ์ (ethnicity) กับพิธีกรรม โดยใช้ ทฤษฎีการธำรงชาติพันธุ์และทฤษฎีการวิเคราะห์พิธีกรรม ซึ่งผู้เขียนพบว่า เพื่อที่จะให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถธำรงอยู่ได้ จำเป็นต้องมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ กลุ่ม (group) ประวัติ (history) และเอกลักษณ์ (identity) ในขณะเดียวกันพิธีกรรมก็มีความสำคัญต่อการที่บุคคลมารวมกัน เป็นกลุ่ม มีความสำคัญต่อการทำให้อดีตปรากฎขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งพิธีกรรมยังมีความสำคัญต่อการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมพิธีกรรม ดังนั้นผู้เขียนจึงตั้งใจศึกษา โดยการวิเคราะห์พิธีกรรมต่าง ๆ ของคนมอญในชุมชนบ้านมน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งผู้เขียน จะวิเคราะห์พิธีกรรมต่าง ๆ โดยการมองปัจจัยสำคัญ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น จากการวิเคราะห์ชีวิตประจำวันและพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนมอญแล้ว ผู้เขียนพบว่าคนมอญในชุมชนบ้านมนมี เอกลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนกันอยู่ 2 ระดับ คือ ในระดับ ที่เป็นคนไทยและในระดับที่เป็นคนมอญควบคู่กันไป ซึ่งการที่ คนมอญในชุมชนบ้านมนมีเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งที่เป็นคนไทยนั้น ไม่ใช่ว่ามีเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยแต่มีเอกลักษณ์ส่วนหนึ่ง ของสังคมไทยหรือประเทศไทยซึ่งหลายชาติพันธุ์ซับซ้อน อยู่ในระดับที่เป็นคนไทย คนมอญในชุมชนบ้านมนแบ่งใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของชาติพันธุ์มอญ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และกาลเทศะ เช่น การแต่งกาย และการใช้ภาษา เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เขียนยังพบอีกว่า สิ่งสำคัญที่จะนิยามความเป็น คนมอญในชุมชนบ้านมน คือ เชื้อสายของคนมอญโดยเฉพาะ สายเลือดทางผู้ขาย และพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การนับถือขะหลกหั่ย เช่น พิธีเลี้ยงผี และพิธีรำผีนั่น เป็นกลไกสำคัญที่จะธำรงเอกลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ โดยการ สืบต่อทางสายเลือด และสืบต่อประวัติของชาติพันธุ์มอญ อีกนัยหนึ่งพิธีกรรมทางด้านพุทธศาสนาบางพิธีกรรม เช่น การทำบุญร่วมกันทั้ง 9 วัด ในวันเข้าพรรษาและ วันออกพรรษาและพิธีเทศน์มหาชาติ เป็นต้นนั้น ได้รวบรวม กลุ่มชาติพันธุ์มอญกลุ่มย่อย ๆ เข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้มี กลุ่มชาติพันธุ์มอญกลุ่มใหญ่ หรือขอบเขตวัฒนธรรมมอญ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการธำรงวัฒนธรรมและจารีตประเพณี ของชาติพันธุ์มอญ ในขณะเดียวกัน ตำราต่าง ๆ ของ คนมอญก็มีหน้าที่สำคัญต่อการธำรงเอกลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ โดยการสืบต่อประวัติและพิธีกรรมของคนมอญ และโดย การแสดงให้เห็นกฎและแบบอย่างการดำเนินชีวิตของคนมอญ
อ่านต่อ >>

องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : ชูชาติ ประสูตร์แสงจันทร์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-164-6
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับองค์ประกอบและวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี (2) องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรีจำนวน 14 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร และครูผู้สอนใน โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 290 คน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ((-,X)) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ (1) องค์ประกอบด้านคุณลักษณะและ พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก และ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน (2) องค์ประกอบของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรีโดยรวม คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ การมีศิลปะในการทำงาน ความสามารถในการประเมินผลการทำงานร่วม กับผู้อื่น และความรับผิดชอบ และด้านสถานภาพ ตัวแปรย่อยได้แก่ ประสบการณ์ในการ ทำงาน 6-10 ปี เมื่อพิจารณาวิสัยทัศน์รายด้าน พบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการ สร้างวิสัยทัศน์ คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ การมุ่งความสำเร็จ การมี ศิลปะในการทำงาน ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และด้านสถานภาพ ตัวแปรย่อยได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี ส่วนองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเผยแพร่วิสัยทัศน์ คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ ความสามารถในการประเมินผล ความรับผิดชอบ การมีศิลปะในการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และด้านสถานภาพ ตัวแปรย่อยได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปี และองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ คือ ด้านคุณลักษณะ ตัวแปรย่อยได้แก่ การมีศิลปะในการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสามารถในการประเมินผล
อ่านต่อ >>

การพัฒนาสื่อการสอนฟังเสริม รายวิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 019 ด้วยวิธีการเรียน รู้แบบพึ่งพาตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสิทธิ์ฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนาสื่อการสอนฟังเสริม รายวิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 019 ด้วยวิธีการเรียน รู้แบบพึ่งพาตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ชื่อนักศึกษา : ประสิทธิ์ สรรสม
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
ปี : 2544
ISBN : 974-653-379-7
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนฟังเสริม รายการ วิชาภาษาอังกฤษ อ 019 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเพื่อเปรียบ เทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกทักษะ การฟัง เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณสมบัติของสื่อการสอน ที่สร้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ สื่อการสอนฟัง เสริมรายวิชาภาษาอังกฤษหลัก อ 019 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 8 บทเรียน แบบ ทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง และแบบประเมินความ คิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคุณสมบัติของสื่อการสอนฟัง ทั้ง 8 บทเรียน การทดลองใช้เวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 คาบเรียน ๆ ละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบ ก่อนการทดลองใช้สื่อการสอนผู้วิจัยได้ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบวัดความ สามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อประเมินความสามารถในการฟัง ผู้วิจัยทดสอบนัก เรียนด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษฉบับเดียวกับหลังก่อนการใช้ สื่อการสอน นักเรียนประเมินสื่อการสอนฟังเสริมฯ ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียนที่มีต่อคุณสมบัติของสื่อการสอนแต่ละบท จนครบทั้ง 8 บทเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ใช้ t-test แบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการ ฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการฝึกฟัง ใช้ค่าสถิติพื้น ฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนฟังเสริมฯ ที่สร้าง และวิเคราะห์ระดับความต้องการของนักเรียนในด้านเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของสื่อการสอน ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง ที่ผู้ วิจัยสร้างขึ้นมามีค่า 84/78 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี 2. ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการฝึกฟังโดยใช้สื่อที่ สร้าง สูงกว่าก่อนการฝึกฟังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3. นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อสื่อการสอนฟังเสริมฯ ทั้ง 8 บท ที่ผู้ วิจัยสร้างขึ้น
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์และภาวะสุขภาพของมารดาและทารกแรกเกิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์และภาวะสุขภาพของมารดาและทารกแรกเกิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : เกษณี โคกตาทอง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศิลปศาสตร์
สาขา : ประชากรศึกษา
ปี : 2545
ISBN : 974-04-1694-2
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการ ฝากครรภ์ครบหรือไม่ครบตามเกณฑ์กับปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความรู้ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ สุขนิสัยขณะตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แรงสนับสนุนทางสังคมของสามีและความคาดหวังต่อบุตร การวิเคราะห์ ข้อมูล วิเคราะห์ Chi-square และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มมารดาอายุ (+,ณ) 20 ปี มีโอกาสมาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ เป็น 3.18 เท่าของมารดาอายุ
อ่านต่อ >>

ความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กานดา วาสะสิริ
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : สิ่งแวดล้อมศึกษา
ปี : 2545
ISBN : 974-04-1900-3
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.li.mahidol.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรู้ เจตคติ และบทบาทของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาการทำงาน ระดับการศึกษา การรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบ สอบถามกับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 148 ราย และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 7 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ รวมทั้งใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาประกอบ ผลการศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับต่ำ มีเจตคติในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับที่เห็นด้วยและมีบทบาทในการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติ และบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นอยู่ กับประสบการณ์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และบทบาทในการ จัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับบทบาทในเชิงลบ แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติ และเจตคติไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาท ในส่วนของปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้จากการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่าปัญหาเกิดจากองค์การบริหาร ส่วนตำบลยังขาดงบประมาณและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจึงควรเสนอให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้น หรือควรขอความช่วยเหลือและร่วมมือจากหน่วยงานอื่น และควรจัดอบรมในเรื่องของบทบาท อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แก่สมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลเพิ่มมากขึ้น
อ่านต่อ >>

ความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : พนิดา ทีตี้
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การบริหารการศึกษา
ปี : 2544
ISBN : 974-653-158-1
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทราบระดับความพร้อมของบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 :ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ราชบุรี และเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครู และตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับความพร้อม ของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี จำนวน 188 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและ ครู และตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 752 คน และตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือโรงเรียนประถมศึกษาจำนวนสามอำเภอ อำเภอละ สองโรงเรียน คือ โรงเรียนที่อยู่ในเมืองและโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง จำนวนหก โรงเรียน โรงเรียนละสี่คน โดยผู้ให้สัมภาษณ์ คือ บุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู ตัวแทนชุมชน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (questionnaire) เกี่ยวกับความ พร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ตามพระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (non - structural interview) โดยสอบถามและสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาทั้งสองกลุ่ม คือ บุคลากรในสถานศึกษาและตัวแทนชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่(f), ค่าร้อยละ(%), ค่าเฉลี่ย((-,X)), ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การวิเคราะห์แบบไคว-สแควร์((+,c)(2)-test), การทดสอบ มาร์สคีโล (Marascuilos test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหาร การศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความพร้อมระดับมาก 2. ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู และ ตัวแทนชุมชน คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ทางการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 : ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี มีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ด้านการยอมรับ และด้านการมี ส่วนร่วม
อ่านต่อ >>

การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะฯ

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร ประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : เรืองลักษณ์ ทิพย์ทอง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขา : สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ปี : 2541
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library2.tu.ac.th/newlib2/thesis.html
บทคัดย่อ : การศึกษาความพร้อมของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวในชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร ประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อม ของคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการ จัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ความพร้อมด้านทัศนคติ ที่มีต่อโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวใน ชุมชน และเพื่อศึกษาการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และ สถาบันอื่น ๆ ในชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสังเกต ประชากรในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้าน จากศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน 14 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละตำบล ในพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษา ความพร้อมด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว พบว่า คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้านส่วนใหญ่มีความรู้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับการติดต่อและการป้องกันโรค แต่มีความรู้ น้อยเกี่ยวกับอาการและการรักษา และไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดบริการช่วยเหลือ ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวมาก่อน ความพร้อมด้านทัศนคติที่มีต่อโรคเอดส์ และการจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว พบว่า คณะกรรมการศูนย์ฯ ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อโรคเอดส์และผู้ป่วยโรคเอดส์ และเห็นด้วยกับนโยบายส่งเสริมให้ ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ในชุมชน การ สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และ สถาบันอื่น ๆ ในชุมชน ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐ พบว่า ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ทั้ง 14 แห่ง ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโป่ง และสำนักงาน ประชาสงเคราะห์จังหวัดราชบุรี ในด้านคำปรึกษาแนะนำ งบประมาณ และการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการศูนย์ฯ คิดว่าการสนับสนุนที่ได้รับยังไม่ เพียงพอ ต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานความรู้เกี่ยวกับ การจัดบริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพของผู้ป่วยโรคเอดส์ ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่ให้บริการด้านโรคเอดส์ และการศกึษา ดูงาน การสนับสนุนด้านงบประมาณ เอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านโรคเอดส์ อุปกรณ์ทำแผล และ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย ควรมีแผนงาน โครงการ ที่ชัดเจน ในการพัฒนาศักยภาพของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน จัดสรรงบประมาณในการ ดำเนินงานตามแผนงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการแผนงานร่วมกัน เพื่อให้ เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ระดับปฏิบัติการควรเตรียมความพร้อมด้าน การดำเนินงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่คณะกรรมการศูนย์ฯ โดยจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านการจัด บริการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว จัดให้มีการศึกษาดูงานขององค์กร ชุมชนที่มีการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการทำงาน จัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่คน ทุกกลุ่มในชุมชนอย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย โรคเอดส์ เพื่อช่วยให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ และช่วยให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ กล้าที่จะเปิดเผยตัวต่อสังคม ซึ่งจะช่วยลดปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของศูนย์ฯ ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน หรือองค์กรในระดับท้องถิ่น ควร ร่วมมือกันในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์ เพราะจะทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ใน ชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ อบต.ควรสนับสนุนในด้านงบประมาณแก่ศูนย์สงเคราะห์ ราษฎรประจำหมู่บ้าน ในการจัดบริการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์
อ่านต่อ >>

การพัฒนาแบบฝึกการอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ต สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนาแบบฝึกการอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ต สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : จินตอาภา ผลบุณยรักษ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศึกษาศาสตร์
สาขา : การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
ปี : 2544
ISBN : 974-653-402-5
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.su.ac.th/
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการ อ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ต เพื่อเปรียบเทียบความ สามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการ เรียน โดยใช้แบบฝึกการอ่านจากเอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ตและเพื่อศึกษาความคิด เห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการอ่านและแบบฝึกการอ่าน ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียน 1 ห้อง ได้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน ทำการทดลองด้วยวิธีที่ให้นัก เรียนฝึกอ่านใช้แบบฝึกการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 บท สอนบทละ 4 คาบ เป็นเวลา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกการอ่านเพื่อการสื่อสาร โดยใช้เอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ต 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการทดลอง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแบบฝึกการอ่านโดยใช้เอก สารจริงจากอินเตอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ t-test แบบจับคู่ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 10.0 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนัก เรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการฝึกอ่านโดยใช้แบบฝึกการอ่านเพื่อการสื่อสารโดย โดยใช้เอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกการอ่านโดยใช้ เอกสารจริงจากอินเตอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงจากอิน เตอร์เน็ตมีค่า 75.11 / 75.57 2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการฝึกอ่านโดยใช้แบบ ฝึกการ อ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการฝึกอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกการอ่านโดยใช้เอกสารจริงจากอินเตอร์ เน็ตอยู่ในระดับสูง
อ่านต่อ >>

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหอพักนักศึกษาสตรีสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหอพักนักศึกษาสตรีสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : กรวินท์ วงศ์เนตรสว่าง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : เศรษฐศาสตร์
สาขา : เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ปี : 2543
ISBN : 974-677-173-6
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://library.utcc.ac.th
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหอพักสตรี ในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และความต้องการเช่าหอพักสตรี รวมถึงลักษณะและรูปแบบของที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ และความสามารถในการจ่ายค่าเช่าของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งข้อมูลที่ใช้มาจาก การออกแบบสอบถามนักศึกษาหญิงของสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการหอพักสตรี คิดเป็นร้อยละ 57.8 ซึ่ง หมายถึงโอกาสทางการตลาดของโครงการหอพักสตรีในพื้นที่อำเภอจอมบึง ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง ที่ต้องการเช่าหอพักสตรีส่วนใหญ่ต้องการให้มีห้องน้ำภายในห้องพัก ร้อยละ 66.7 สำหรับ รูปแบบห้องพัก พบว่า ร้อยละ 58.9 ต้องการห้องเดี่ยว และร้อยละ 20.8 ต้องการห้องคู่ โดยมีความต้องการห้องพักขนาด 7-9 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 49.4 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ที่ต้องการห้องเดี่ยวที่มีห้องน้ำภายใน ร้อยละ 43.3 สามารถจ่ายค่าเช่าในราคา 300-600 บาทต่อเดือน ร้อยละ 27.9 สามารถจ่ายในราคา 601-900 บาทต่อเดือน และ ร้อยละ 23.1 และ 5.8 สามารถจ่ายในราคา 901-1,200 และ 1,201-1,500 บาทต่อเดือน ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการห้องพักคู่ที่มีห้องน้ำภายในส่วนใหญ่สามารถ จ่ายในราคา 901-1,200 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 56.5 และกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ เช่าหอพักสตรีนี้ ร้อยละ 45.5 ต้องการห้องพักที่มีมิเตอร์น้ำและไฟฟ้า รวมทั้งต้องการ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพัก ได้แก่ เตียง, โต๊ะ, เก้าอี้, พัดลม, โทรศัพท์ภายใน ห้องพัก, ตู้เสื้อผ้า, ที่ตากผ้าและที่รองนอน ซึ่งผลการสำรวจนี้เป็นประโยชน์ในการ กำหนดลักษณะและรูปแบบที่เหมาะสมของโครงการหอพักสตรี ทั้งนี้ได้กำหนดห้องพักขนาด 3 x 4 ตารางเมตร ที่มีห้องน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ ในส่วนของความเป็นไปได้ทางเทคนิคการก่อสร้างนั้น ได้ดำเนินการออกแบบอาคารและรูปแบบ ห้องพักให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคารและพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ผลการศึกษา พบว่า โครงการหอพักสตรี 2 ชั้น ที่มีห้องพักจำนวน 45 ห้อง และโครงการหอพักสตรี 3 ชั้น ที่มีห้องพักจำนวน 70 ห้อง มีความเป็นไปได้ทางเทคนิค ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัยในปัจจุบันและความต้องการเช่า หอพักสตรี โดยใช้วิธี Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ปัจจัยสาขาวิชา, รายได้, งานพิเศษ, ภูมิลำเนา, ระยะเวลาในการเดินทางไปศึกษา, การเดินทางไปศึกษาและการเคยเช่า หอพักสตรี ยกเว้นปัจจัยชั้นปี สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างชุดของปัจจัยต่าง ๆ กับการ ตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัยในปัจจุบันโดย Logit Model และความต้องการเช่าหอพักสตรีโดย Probit Model สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ การตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัยในปัจจุบันมีความ สัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับภูมิลำเนาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และมีความสัมพันธ์ในทิศทาง ตรงข้ามกับงานพิเศษและการเดินทางไปศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นอกจากนี้การตัดสินใจ เช่าที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับรายได้ ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.01 และมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับสาขาวิชาที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ในขณะที่ความต้องการเช่าหอพักสตรีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเคยเช่าหอพัก สตรี ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ณ อัตราค่าเช่า 1,200 บาทต่อเดือนและ อัตราส่วนลดร้อยละ 13.0 พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ -458,956.66 และ 212,991.45 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) เท่ากับ 0.91 และ 1.03 อัตราผลตอบแทน ภายในโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 11.67 และ 13.45 และระยะคืนทุน 6 ปี 7 เดือน และ 5 ปี 8 เดือน สำหรับโครงการหอพักสตรี 2 ชั้น และ 3 ชั้น ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า โครงการหอพักสตรี 3 ชั้น มีความเป็นไปได้ในการลงทุนมากกว่า อย่างไรก็ตาม จากผลของ การวิเคราะห์ความอ่อนไหวชี้ให้เห็นว่า โครงการหอพักสตรี 3 ชั้น แห่งนี้ ยังคงไม่เหมาะสม ที่จะลงทุนเนื่องจากผลทางรายได้และค่าใช้จ่าย คือ รายได้จากค่าเช่าสามารถลดลงได้เต็มที่ ร้อยละ 3.08 โดยที่ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายจากค่าน้ำ-ไฟฟ้าสามารถเพิ่มขึ้นได้ เต็มที่ร้อยละ 207.62 โดยที่รายได้คงที่ แสดงว่าโครงการหอพักสตรี 3 ชั้น จะมีห้องว่าง ได้ 2 ห้องเท่านั้น ตลอดอายุโครงการ มิฉะนั้นมูลค่าปัจจุบันสุทธิจะติดลบ ดังนั้น โครงการหอพักสตรี 3 ชั้น ณ อัตราค่าเช่า 1,200 บาทต่อเดือน ยังไม่น่าลงทุน เมื่อพิจารณา ถึงอัตราค่าเช่า 1,500 บาทต่อเดือน พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 2,066,480.79 บาท ระยะคืนทุน 4 ปี 5 เดือน อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) และอัตราผล ตอบแทนภายในโครงการ (IRR) เท่ากับ ร้อยละ 1.28 และ 17.16 ตามลำดับ ดังนั้นถ้า โครงการหอพักสตรี 3 ชั้น สามารถเพิ่มรายรับจากค่าเช่าห้องได้ในราคา 1,500 บาทต่อเดือน ก็จะทำให้ผลตอบแทนคุ้มค่าน่าลงทุนมากยิ่งขึ้น
อ่านต่อ >>

สาเหตุการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดราชบุรี

ชื่อวิทยานิพนธ์ : สาเหตุการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดราชบุรี
ชื่อนักศึกษา : พีรพงษ์ คุสินธุ์
สถาบัน : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : ศิลปศาสตร์
สาขา : : รัฐศาสตร์
ปี : 2543
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.lib.ru.ac.th/
จำนวนเปิดอ่าน : 589 ครั้ง
บทคัดย่อ : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสาเหตุการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในจังหวัดราชบุรี ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2541-2542 ในกิจการที่ได้รับการผ่อนผันให้จ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าได้ตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2542 ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ วิธีการวิจัยในเชิงเอกสาร โดยการศึกษาเอกสารของ ทางราชการ หนังสือ บทความ ผลงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับสาเหตุการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า และวิธีการ วิจัยในเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเจ้าของกิจการ 11 แห่ง ใน 8 กิจการ ซึ่งประกอบด้วย กิจการ สวนผักผลไม้ ไร่อ้อย เลี้ยงหมู เหมืองแร่และเหมืองหิน โรงสีข้าว โรงงานทำอิฐ โรงงานทำโอ่งและ งานก่อสร้าง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำนวน 10 คน ผู้วิจัยได้ตั้งประเด็นเกี่ยวกับสาเหตุที่นายจ้างยังคงต้องจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าไว้ 10 ประเด็น คือ (1.)ต้นทุนที่ต่ำกว่าในด้านค่าจ้าง (2.)การที่สามารถจัดหาแรงงานพม่าได้ง่าย (3.)ความขยันอดทนในการทำงานของแรงงานพม่า (4.)การขาดแคลนแรงงานไทย (5.)เหตุผลด้านมนุษยธรรม (6.)ความยากง่ายในการปกครองแรงงานพม่า (7.)ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าในด้านสวัสดิการ (8.)ความซื่อสัตย์ของแรงงานพม่า (9.)อุปนิสัยของแรงงานพม่า (10.)การบังคับใช้กฎหมายข้อบังคับของภาครัฐ ผลการศึกษาพบว่าประเด็นที่เป็นสาเหตุสำคัญในการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในจังหวัดราชบุรีมี 3 ประเด็น เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้คือ 1. ต้นทุนในด้านค่าจ้างแรงงานพม่าถูกกว่าการจ้างแรงงานคนไทย 2. การที่สามารถจัดหาแรงงานพม่าได้ง่ายและเหตุผลด้านมนุษยธรรม 3. การขาดแคลนแรงงานไทยและความขยันอดทนของแรงงานพม่า
อ่านต่อ >>

รูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมกับประชาชน บ้านห้วยน้ำหนัก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : อรนุช หิรัญคุปต์
ชื่อเรื่อง : รูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมกับประชาชน บ้านห้วยน้ำหนัก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
หัวเรื่อง : การฝึกอบรม;การพัฒนาชนบท -- การมีส่วนร่วมของประชาชน;กะเหรี่ยง -- ราชบุรี. อำเภอสวนผึ้ง;บ้านห้วยน้ำหนัก (ราชบุรี)
จำนวนหน้า : 125 หน้า
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ
โน้ต : วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 104-107
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2537
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

เปรียบเทียบผลของการฝึกอบรม 2 วิธี แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : สุวรรณา อัตตโชติ
ชื่อเรื่อง : เปรียบเทียบผลของการฝึกอบรม 2 วิธี แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในจังหวัดราชบุรี = Comparison of the effectiveness between two educational training methods for health volunteers in Ratchaburi province
หัวเรื่อง : อาสาสมัครสาธารณสุข -- ราชบุรี;Dissertations, academic -- nursing
จำนวนหน้า : ฐ, 128 แผ่น
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 105-108
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2537
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี

ผู้แต่ง : ศิริรัตน์ ตรีรัตน์
ชื่อเรื่อง : ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี = Marketing mix factors affecting consumers purchasing decision of drinking milk in Ratchaburi Municipality
หัวเรื่อง : การตลาด;นมพาสเจอร์ไรส์;ผู้บริโภค -- ราชบุรี
จำนวนหน้า : ก-ฑ, 119 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [109]-110
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา :2549
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาของผู้บริโภคในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : พรรษมณฑ์ ตันประเสริฐ
ชื่อเรื่อง : ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาของผู้บริโภคในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี = Marketing mix factors affecting consumers purchasing of fish sausage in Photharam district, Ratchaburi province
หัวเรื่อง : การตลาด;กุนเชียงปลา;ผู้บริโภค -- ราชบุรี. อำเภอโพธาราม
จำนวนหน้า : ฑ, 95 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [86]-87
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2550
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องเคลือบดินเผาของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : บุญเกิด สระศรี
ชื่อเรื่อง : ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องเคลือบดินเผาของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี = Marketing mix factors affecting consumers in purchasing decision of ceramic in Mueang District, ratchaburi Province
หัวเรื่อง : การตลาด;เครื่องเคลือบดินเผา;ผู้บริโภค -- ราชบุรี
จำนวนหน้า : ฑ, 116 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 109
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2547
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : สมภพ ห่วงทอง
ชื่อเรื่อง : ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดราชบุรี = Factors affecting smoking habits of health centers staff Ratchburi province
หัวเรื่อง : การสูบบุหรี่;บุคลากรสาธารณสุข;สถานีอนามัย -- ราชบุรี
จำนวนหน้า : ฎ, 127 แผ่น
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 82-87
ภาษา :ไทย
ปีการศึกษา : 2538
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ทำเนียบหมู่บ้านชาวเขาในประเทศไทย : จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : ศูนย์วิจัยชาวเขา. โครงการรวมข้อมูลชาวเขา
ชื่อเรื่อง : ทำเนียบหมู่บ้านชาวเขาในประเทศไทย : จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดราชบุรี 2518-2519 = Directory of tribal villages in Thailand 1975-1976 Changwat Kanchana Buri Changwat Prachuap Khiri Khan Changwat Phetchaburi Chan
หัวเรื่อง : ชาวเขา -- กาญจนบุรี;ชาวเขา -- เพชรบุรี;ชาวเขา -- ประจวบคีรีขันธ์;ชาวเขา -- ราชบุรี;หมู่บ้าน -- กาญจนบุรี;หมู่บ้าน -- เพชรบุรี;หมู่บ้าน -- ประจวบคีรีขันธ์;หมู่บ้าน -- ราชบุรี;เอกสารพิพิธภัณฑ์ชาวเขา
จำนวนหน้า : 113 หน้า : แผนที่, ตาราง
พิมพลักษณ์ : กรุงเทพฯ : กรม, 2519
ผู้แต่งร่วม :
โน้ต : มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : กรุงเทพฯ กรม 2519
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อบริการทวีมิตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : นวรัตน์ นุชเนตร
ชื่อเรื่อง : ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อบริการทวีมิตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาราชบุรี จังหวัดราชบุรี = Customers' attitudes towards Taweemit service of bank for agriculture and agricultural cooperatives in Ratchaburi branch, Ratchaburi province
หัวเรื่อง : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาราชบุรี;ธนาคารและการธนาคาร -- ราชบุรี
จำนวนหน้า : ฒ, 105 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 97
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2548
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ทัศนคติของลูกค้าต่อบริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในอำเภอเมืองราชบุรี

ผู้แต่ง : วรรณวิมล ชูศูนย์
ชื่อเรื่อง : ทัศนคติของลูกค้าต่อบริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในอำเภอเมืองราชบุรี = Customer attitude towards internet banking services of Krung Thai Bank Public Company Limited in Mueang Ratchaburi District
หัวเรื่อง : ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน);ธนาคารกรุงไทย -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ;บริการลูกค้า -- ราชบุรี. อำเภอเมืองราชบุรี
จำนวนหน้า : ก-ฒ, [129] แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [119]-120
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2551
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าประเภทของฝากที่ระลึกจากจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : สุทธิพา หมอทรัพย์
ชื่อเรื่อง : ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าประเภทของฝากที่ระลึกจากจังหวัดราชบุรี = Consumer attitudes towards gifts and souvenir products form Ratchaburi Province
หัวเรื่อง : ผู้บริโภค -- ราชบุรี -- ทัศนคติ;ของที่ระลึก
จำนวนหน้า : ฑ, 113 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 95-96
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา :2550
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : นุชน้อย กิติคุณานนท์
ชื่อเรื่อง : ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี = Consumers attitude towards retail stores in Photharam District, Ratchaburi Province
หัวเรื่อง : ผู้บริโภค -- ราชบุรี. อำเภอโพธาราม;ร้านค้าปลีก -- ราชบุรี. อำเภอโพธาราม
จำนวนหน้า : ก-ณ, 120 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 109-110
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2549
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรีต่อการเปิดเสรีทางการค้าผลิตภัณฑ์นมกับประเทศออสเตรเลีย

ผู้แต่ง : ราชันย์ อินทร์ปัญญา
ชื่อเรื่อง : ทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรีต่อการเปิดเสรีทางการค้าผลิตภัณฑ์นมกับประเทศออสเตรเลีย = Attitudes of dairy cattle owners in Ratchaburi province towards free trade agreement of dairy products with Australia
หัวเรื่อง : การค้าเสรีและการคุ้มครอง -- ออสเตรเลีย;ผลิตภัณฑ์นม -- ราชบุรี;โคนม;เกษตรกร -- ราชบุรี
จำนวนหน้า : ฑ, 94 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 74
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2549
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ความพึงพอใจของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการใช้บริการสินเชื่อกับ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : สมชาย ขวัญชัยศักดา
ชื่อเรื่อง : ความพึงพอใจของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการใช้บริการสินเชื่อกับ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ในจังหวัดราชบุรี = Small and medium enterprises customer satisfaction towards the credit services of Kasikornbank Public Company Limited in Ratchaburi Pr
หัวเรื่อง : ความพึงพอใจของผู้บริโภค -- ราชบุรี;ธุรกิจขนาดกลาง;ธุรกิจขนาดย่อม;สินเชื่อ
จำนวนหน้า :ต, [164] แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 155
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา :2551
ดูรายละเอียด

อ่านต่อ >>

ความคิดเห็นของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าราชบุรี ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด

ผู้แต่ง :บุณฑริกา เทพธรรม
ชื่อเรื่อง :ความคิดเห็นของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าราชบุรี ด้านการจัดการสิงแวดล้อมของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด = Opinions of residents surrounding Ratchaburi Power Plant toward environmental management of Ratchaburi Electricity Generating Co., Ltd.
หัวเรื่อง :บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี;สิ่งแวดล้อม
จำนวนหน้า :ณ, 173 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทาลัยเชียงใหม่, 2550
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 159-160
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2550
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงสุกรขุนในฟาร์มขนาดกลาง ในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : ภาณุวิชญ์ พราหมณ์สำราญ
ชื่อเรื่อง :การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงสุกรขุนในฟาร์มขนาดกลาง ในจังหวัดราชบุรี = Cost-benefit analysis of fattening pig raising in medium scale farms in Ratchaburi Province
หัวเรื่อง : ต้นทุนการผลิต;สุกร -- การเลี้ยง -- ราชบุรี;ฟาร์ม -- ราชบุรี
จำนวนหน้า :ก-ฒ, 151 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ์ :เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
ผู้แต่งร่วม :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต :การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 134-135
ภาษา :ไทย
ปีการศึกษา :2549
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

การปรับตัวทางอาชีพของผู้ผลิตโอ่งลายมังกรในเขตอำเภอเมืองราชบุรี

ผู้แต่ง : ภัทรมน แก้วพร้อมฤกษ์
ชื่อเรื่อง : การปรับตัวทางอาชีพของผู้ผลิตโอ่งลายมังกรในเขตอำเภอเมืองราชบุรี = Occupational adjustment of Lai Mungkorn earthen Jar Craftsmen in Mueang Ratchaburi District
หัวเรื่อง : โอ่ง -- การผลิต -- ราชบุรี;อาชีพ
จำนวนหน้า : ฐ, 180 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาอาชีวศึกษา
โน้ต : วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;
บรรณานุกรม: แผ่น 140-142
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2550
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

การใช้พลังงานจากไม้ในชนบท ในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : สุธีรา เลิศสุโภชวณิชย์
ชื่อเรื่อง : การใช้พลังงานจากไม้ในชนบท ในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
หัวเรื่อง : พลังงาน;ไม้ -- ราชบุรี. อำเภอสวนผึ้ง;การใช้พลังงาน;ที่อยู่อาศัย -- การใช้พลังงาน;ที่อยู่อาศัย -- ราชบุรี. อำเภอสวนผึ้ง;ราชบุรี. อำเภอสวนผึ้ง -- ประชากรในชนบท
จำนวนหน้า : 95 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง, แผนผัง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาภูมิศาสตร์
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภูมิศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [78]-81
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา : 2532
ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนและบทบาทเสริมของผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง : ประพันธ์ศักดิ์ ตวงสุวรรณ
ชื่อเรื่อง : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนและบทบาทเสริมของผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในจังหวัดราชบุรี
หัวเรื่อง : คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน;ครู -- ราชบุรี
จำนวนหน้า : 293 แผ่น : ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
โน้ต : วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 256-261
ภาษา :ไทย
ปีการศึกษา 2541

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อ่านต่อ >>

การจัดการประกวดเครื่องเสียงกลางแจ้งในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง :ไพโรจน์ มูลยิ่ง
ชื่อเรื่อง : การจัดการประกวดเครื่องเสียงกลางแจ้งในจังหวัดราชบุรี = Management of outdoor stereo system contest in Ratchaburi Province
หัวเรื่อง : เครื่องเสียง -- การประกวด
จำนวนหน้า : ฎ, 73 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ์ : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
โน้ต : การค้นคว้าแบบอิสระ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [44]
ภาษา : ไทย
ปีการศึกษา 2550

ดูรายละเอียด
อ่านต่อ >>

ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อวิถีชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ

รหัสโครงการ : RDG4550010
ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนาการและผลกระทบของการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ
ชื่อนักวิจัย : ผศ.ดร.มณีวรรณ ผิวนิ่ม ภาควิชามนุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
E-mail address : mpewnim@su.ac.th
ระยะเวลาโครงการ : 1 พฤศจิกายน 2544 - 31 ตุลาคม 2545
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งทำความเข้าใจถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชุมชนหลังจากมีการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบตลาดน้ำในพื้นที่ ตลาดน้ำที่เลือกศึกษาในครั้งนี้ คือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรี และตลาดน้ำตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาถึงพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำทั้งสองแห่ง จากประวัติชุมชนและกระบวนการปรับตัวเข้าสู่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า ตลาดน้ำดำเนินสะดวกพัฒนามาจากตลาดขายของทางน้ำของชาวบ้านในชุมชนและจังหวัดใกล้เคียง ไปสู่การเป็นตลาดเพื่อนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงเวลาประมาณ 30 ปี เริ่มจากมีนักท่องเที่ยวเข้าไปพบแล้วบอกกันต่อๆ ไป ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การค้าขายทางน้ำในตลาดของชุมชนลดน้อยลงจนเกือบจะหมดไป แต่มีนายทุนจากภายนอกที่ดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเข้ามาพัฒนารูปแบบตลาดเสียใหม่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ โดยเน้นกิจกรรมการลงเรือชมคลองและการขายของที่ระลึก มีข้อตกลงกับบริษัททัวร์ให้รับนักท่องเที่ยวมาแวะที่ตลาดน้ำเพียงช่วงสั้นๆ ก่อนจะเดินทางต่อไปที่อื่น ส่วนตลาดน้ำตลิ่งชันไม่ใช่ตลาดดั้งเดิมของชาวบ้าน เริ่มต้นจากการสร้างตลาดใหม่ขึ้นริมน้ำในที่ดินของราชการ เพื่อเป็นแหล่งขายสินค้าทางการเกษตรสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2530 มีการตั้งคณะทำงานที่มาจากชาวบ้านในพื้นที่ขึ้นมาทำหน้าที่บริหารงานในตลาดน้ำโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่าประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน ในระยะหลังได้พัฒนามาเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีเรือและแพขายอาหารในน้ำ บนบกมีการขายอาหาร ผัก ผลไม้และพันธุ์ไม้จากสวน ตลอดจนจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรีและรำไทย ช่วงหลังมีการเพิ่มกิจกรรมจัดเรือเที่ยวชมคลอง การนวดฝ่าเท้าและการร้องเพลงคาราโอเกะเข้ามาด้วยการท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อชุมชนทั้งสองแห่งทั้งในด้านบวกและลบ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทำให้เกิดปัญหาการแออัดของการคมนาคม ปัญหาน้ำเสีย มลพิษทางเสียงและอากาศ แต่มีส่วนทำให้มีการปรับปรุงพื้นที่และสาธารณูปโภคในชุมชนให้ดีขึ้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการจ้างงานในชุมชน ไม่ต้องไปหางานนอกชุมชน มีทางเลือกด้านอาชีพเพิ่มขึ้น ที่ตลาดน้ำตลิ่งชันการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกชุมชน แต่ที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวกรายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการรายใหญ่จากนอกชุมชน ผลกระทบทางสังคม การท่องเที่ยวก่อให้เกิดทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งในชุมชน โดยเฉพาะในตลาดน้ำดำเนินสะดวกที่มีนักท่องเที่ยวมากและผลประโยชน์สูง มีความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันและระหว่างผู้ประกอบการกับคนในชุมชนที่ถูกกีดกันด้านการค้า มีการเอาเปรียบและหลอกลวงนักท่องเที่ยวในการขายสินค้าและให้บริการ ผลกระทบทางวัฒนธรรมเป็นไปในทางบวกเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ กระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในด้านการแต่งตัว กิจกรรมทางวัฒนธรรม ความรู้สึกภูมิใจในท้องถิ่นของตนศักยภาพของการจัดการการท่องเที่ยวแบบตลาดน้ำยังมีอยู่มาก เพราะเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนที่อื่น เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ คนในชุมชนทั้งสองยังต้องการให้มีการท่องเที่ยวแบบตลาดน้ำต่อไป และเห็นว่าสามารถจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ แต่ทั้งนี้ต้องให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับตลาดน้ำในอดีตและปัจจุบัน สร้างกิจกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอมิติทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตริมคลองมากกว่าจะเน้นด้านการขายของอย่างเดียว
อ่านต่อ >>

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา จ.ราชบุรี

รหัสโครงการ: RDG4250017
ชื่อโครงการ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา จ.ราชบุรี
ชื่อนักวิจัย: นางพิมพวัลคุ์ วัฒโนภาส
อีเมล์: pimpawan@mail.dss.go.th
ระยะเวลาโครงการ (1 สิงหาคม 2542 – 31กรกฎาคม 2544)
การศึกษานี้เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกรมวิทยาศาสตร์บริการกับสมาคมเครื่องเคลือบดินเผาราชบุรี โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจังหวัดราชบุรีเป็นโอ่งและกระถางขนาดใหญ่ ทำขึ้นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น และกรมวิธีการปรับปรุงวิธีการเตรียมเนื้อดิน โดยการบดด้วย Roller crusher คัดขนาดด้วยตะแกรง 16 เมช ทำให้ลดตำหนิที่เกิดจากเนื้อดิน เช่น การแตกร้าว รั่วซึม ลงไปอย่างเห็นได้ชัด ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้นได้พัฒนาเทคโนโลยีการทำเนื้อดินหล่อเนื้อดินปั้นที่มีความละเอียดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดอาหาร ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึกได้ทำการวิจัยและพัฒนาเคลือบมาตรฐานที่มีสีสันทันสมัยหลากหลาย สามารถใช้กับเนื้อดินราชบุรีได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นการพัฒนารูปแบบและการตกแต่งผลิตภัณฑ์ด้วยเอ็นโกบ และเคลือบหลากสีสร้างมิติใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์สมาชิกของสมาคมเครื่องเคลือบดินเผาราชบุรี 40 โรงงาน ได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยการสัมมนาและฝึกอบรม
คำหลัก เครื่องปั้นดินเผา
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.trf.or.th/research/project_detail.asp?PROJECTID=RDG4250017
อ่านต่อ >>

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่เอื้อต่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนม : กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี

รหัสโครงการ : RDG4020015
ชื่อโครงการ : กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่เอื้อต่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนม : กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี
ชื่อนักวิจัย : รศ.ดร. บุญเรียง ขจรศิลป์
E-mail Address :
ระยะเวลาโครงการ : มีนาคม 2540 – ตุลาคม 2544

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเลี้ยงโคนม โดยเน้นในเรื่องความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และองค์กรท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
ครูใช้การสอนแบบบูรณาการโดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและมีประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ มีการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานซึ่งมีเกณฑ์การประเมินอย่างชัดเจน โดยคาดว่านักเรียนจะมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพการเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้นผู้ร่วมในโครงการครั้งนี้ประกอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในปีกี่ศึกษา 2540 และ 2541 โรงเรียนชุมชนวัดหนองโพและโรงเรียนวัดดอนกระเบื้อง ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากทั้งสองโรงเรียน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ บุคลากรในชุมชน และผู้แทนองค์กรท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินชิ้นงาน แบบวัดเจตคติ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยความร่วมมือของโรงเรียนและชุมชนนั้นประกอบด้วย 10 ขั้นตอน คือ 1.1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการของบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน และคนในชุมชน ในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง “ การเลี้ยงโคนม “ 1.2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง “ การเลี้ยงโคนม ” โดยได้รับความร่วมมือจากผู้รู้ในชุมชน บุคลากรในโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงโคนมจากกรมปศุสัตว์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.3) จัดเตรียมบุคลากรโดยจัดประขุมเชิงปฏิบัติการและพาบุคลากรที่เกี่ยวข้องไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในรูปแบบต่างๆ และการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน 1.4) ประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และวิธีการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอน 1.5) นำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง “ การเลี้ยงโคนม 1 “ และ “ การเลี้ยงโคนม 2 “ ไปทดลองใช้ 1.6) ประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ในระยะแรก 1.7) จัดประชุมติดตามผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง “ การเลี้ยงโคนม 1 “ และ “ การเลี้ยงโคนม 2 “ หลังจากจบการเรียนการสอนในภาคต้นและภาคปลาย โดยเชิญคนในชุมชน บุคลากรโรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง 1.8) นำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง” การเลี้ยงโคนม 1 “ และ “ การเลี้ยงโคนม 2 “ ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และนำไปใช้ 1.9) ประเมินผลการใช้หลักสูตรที่มีต่อนักเรียน ครู ผู้บริการ และคนในชุมชน และ 1.10) บุคลากรในโรงเรียนและคนในชุมชนปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง 2) กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นเรื่อง “ การเลี้ยงโคนม “ ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมานั้นมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อนำหลักสูตรไปใช้แล้วพบว่า 2.1) คณะครูผู้เข้าร่วมโครงการเริ่มมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนจากการให้ครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น 2.2) ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน 2.3) การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงผลงานของตนเองให้ดีขึ้น 2.4) นักเรียนมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมมากขึ้น 2.5) นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมมากขึ้น 2.6) นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรร การกล้าแสดงออก การมีนิสัยรักการทำงาน มีทักษะการแสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองการทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสารอยู่ในระดับดี 2.7) นักเรียนมีความสุขในการเรียนหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการเลี้ยงโคนม และมีเจตคติต่ออาชีพการเลี้ยงโคนมดีขึ้นกว่าก่อนเรียน 2.8) ครูผู้สอน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ บุคลากรในชุมชนมีความคิดเห็นว่า การนำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการเลี้ยงโคนมมาใช้ในโรงเรียนมีผลดีและเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และชุมชนมากกว่าผลเสียซึ่งควรจะดำเนินการต่อไปและควรจะมีการขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ โดยการนำกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น วิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลไปรับใช้ ซึ่งเนื้อหาของหลักสูตรนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ความต้องการและศักยภาพในการจัดทำหลักสูตรของแต่ละท้องถิ่น
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.trf.or.th/research/project_detail.asp?PROJECTID=RDG4020015
อ่านต่อ >>